วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่าง แนวข้อสอบเกี่ยวกับเจ้าพนักงานธุรการ พัสดุ การเงินบัญชี

แนวข้อสอบเกี่ยวกับงานธุรการ

1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ใช้บังคับแก่ส่วนราชการดังต่อไปนี้ 

      ก. ใช้บังคับแก่ส่วนราชการทั้งหมดภายในประเทศ ยกเว้นหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศต้องปรับปรุง 

          ให้สอดคล้องกับประเทศนั้นๆ 

      ข. ใช้บังคับแก่ส่วนราชการทุกส่วนทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทุกจังหวัด ยกเว้นท้องถิ่นซึ่งมีอิสระที่จะ 

      กำหนดรูปแบบของตนเอง 

      ค. ใช้บังคับแก่ส่วนราชการทุกส่วนทั้งส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นภายในประเทศ 

      ง. ใช้บังคับแก่ส่วนราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนกลาง 

     ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ 

     จ. ใช้บังคับแก่ ส่วนราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ 

2. ระเบียบสำนักนายรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบันไม่ใช้บังคับแก่ 

      ก.ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น 

      ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค 

      ค .รัฐวิสาหกิจ 

      ง. ถูกเฉพาะข้อ ก.  กับ  ข. 

   จ. ถูกทั้ง  ก.  ข.  และ  ค. 

3. งานสารบรรณ ตามระเบียบฯ หมายความว่า 

      ก. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร 6 อย่าง คือ การจัดทำ การรับ  การส่ง  การเก็บรักษา การยืม และการทำลาย 

      ข. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสารทั้งหมด ตั้งแต่การคิด การร่าง การพิมพ์ การส่ง การรับ การเก็บรักษา 

          และการทำลาย 

      ค. งานบริหารงานเกี่ยวกับเอกสารทั้งหมด รวมทั้งการจัดทำ ดูแล รักษาวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดาษ เครื่องพิมพ์ด้วย 

      ง. เหมือนข้อ ค. แต่ไม่รวมวัสดุอุปกรณ์ 

      จ. เหมือนข้อ ข. และรวมงานจัดหาดูแลวัสดุอุปกรณ์ด้วย 

4. ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ผู้ดำรงตำแหน่งใดที่รักษาการตามระเบียบนี้ 

      ก. นายกรัฐมนตรี 

      ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 

      ค. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 

      ง. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 

      จ. รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย 

5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 กำหนดให้ใครมีหน้าที่ในการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ 

      ก. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม 

      ข. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 

      ค. ผู้ว่าราชการจังหวัดเฉพาะจังหวัดนั้น 

      ง. นายอำเภอเฉพาะอำเภอนั้น 

      จ. หัวหน้าส่วนราชการระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไป 

6. ผู้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณฯ ได้แก่ 

      ก. นายกรัฐมนตรี 

      ข. นายกรัฐมนตรีและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 

      ค. เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี 

      ง. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 

      จ. รัฐมนตรีและปลัดกระทรวงผู้ถือปฏิบัติ 

7. หนังสือราชการ หมายถึง 

      ก. หนังสือของหน่วยราชการ 

      ข. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ 

      ค. หนังสือที่ใช้กระดาษตราครุฑ 

      ง. ถูกทุกข้อ 

8. หนังสือราชการมีกี่ชนิด 
 ก.  4  ชนิด                               ข.  5  ชนิด               

ค.  6  ชนิด                               ง.  7  ชนิด               

จ.  8  ชนิด 

9. ข้อใดไม่ใช่ชนิดของหนังสือ ตามระเบียบฯ งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 

   ก. หนังสือประทับตรา 

      ข. หนังสือประชาสัมพันธ์ 

      ค .หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ 

      ง. หนังสือลับ 

      จ. หนังสือสั่งการ 

10. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณมี กี่ชนิด 

ก.  2  ชนิด                               ข.  3  ชนิด               

ค. 4  ชนิด                                ง.  5  ชนิด               

จ.  6  ชนิด 

11. ข้อใดไม่ใช่หนังสือสั่งการหรือหนังสือประชาสัมพันธ์ 

ก. ระเบียบ                               ข. ข้อบังคับ             

ค. ข่าว                                      ง.แถลงการณ์           

จ. ไม่มีข้อใดถูก 

12. ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ 

      ก. ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ 

      ข. ข้องบังคับเป็นหนังสือราชการ 

      ค. ถูกทั้งข้อ  ก.  และ ข้อ ข. 

   ง. แถลงการณ์ไม่ต้องใช้กระดาษครุฑ 

      จ. ข่าวราชการควรใช้กระดาษครุฑ 

13. คำว่า หนังสือ ในระเบียบงานสารบรรณ หมายถึง 

      ก. ฟิล์มที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ 

      ข. หนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และลงรับไว้แล้ว 

      ค. โฉนด 

      ง. ข้อ  ข.  และข้อ  ค. จ. ถูกทุกข้อ 

14. หนังสือประทับตรา  ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ 

      ก. ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป 

      ข. ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองลงชื่อเต็มกำกับตรา 

      ค. ใช้ประทับแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป 

      ง. ถูกทั้งข้อ  ก.  และข้อ  ข. 

   จ. ไม่มีข้อใดถูก 

15. หนังสือประทับตรา  ต้องประทับตราส่วนราชการด้วยอะไร 

      ก. หมึกแดง 

      ข.หมึกสีแดงหรือสีม่วงก็ได้ 

      ค. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

      ง. หมึกสีม่วง 

      จ. สีอะไรก็ได้แต่ดูให้เหมาะสม 

16. แจ้งความเป็นหนังสือราชการประเภทใด 

      ก. หนังสือภายนอก                                 ข. หนังสือภายใน 

      ค. หนังสือสั่งการ                                    ง. หนังสือประชาสัมพันธ์ 

      จ. ไม่ถือเป็นหนังสือราชการ 

17. ระเบียบ  คืออะไร 

      ก. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยอาศัยอำนาจของกฏหมาย 

      ข. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยอาศัยอำนาจของกฏหมายหรือไม่ก็ได้ 

      ค. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจกำหนดให้ข้าราชการปฏิบัติภายในส่วนราชการนั้นๆ 

      ง. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในส่วนราชการวางไว้ให้ส่วนราชการปฏิบัติ 

      จ. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในส่วนราชการวางไว้ให้ข้าราชการปฏิบัติ แต่ต้องอาศัยอำนาจตามกฏหมาย 

18. ประกาศ  แถลงการณ์ และข่าว จัดอยู่ในหนังสือประเภทใด 

      ก. หนังสือประทับตรา                             ข. หนังสือภายนอก 

      ค. หนังสือภายใน                                   ง .หนังสือสั่งการ                     

     จ. ไม่มีข้อใดถูก 

19. ข้อใดเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์ ตามระเบียบงานสารบรรณ 

ก. ประกาศ                               ข. ระเบียบ               

ค. คำสั่ง                                   ง. ข้องบังคับ           

จ. ไม่มีข้อใดถูก 

20. แถบบันทึกเสียง การประชุมของส่วนราชการ ถือเป็นหนังสือราชการหรือไม่ ชนิดใด 

      ก. ถือเป็นหนังสือภายใน 

      ข. ถือเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์ 

      ค. ถือเป็นวัสดุประชาสัมพันธ์ 

      ง. ไม่ถือเป็นหนังสือราชการ 

      จ. ถือเป็นหนังสือราชการ 

  

21. ภาพถ่าย การปฏิบัติงานตามโครงการของส่วนราชการถือเป็นหนังสือราชการหรือไม่ชนิดใด 

      ก. ถือเป็นหนังสือภายใน 

      ข. ถือเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์ 

      ค. ถือเป็นหนังสือที่ จนท. ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ 

      ง. เป็นวัสดุประชาสัมพันธ์ 

      จ. ไม่เป็นหนังสือราชการ 

22. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการมีหลายชนิด ข้อใดไม่ใช่ชนิดของหนังสือประเภทนี้ 

      ก. รายงานการประชุม             ข. หนังสือรับรอง 

      ค. บันทึก                                 ง. ข้อบังคับ                             

      จ. หนังสืออื่น 

23. ? ข้อบัญญัติตำบล? จัดเป็นหนังสือราชการประเภทใด 

      ก. หนังสือประทับตรา             ข. หนังสือสั่งการ 

      ค. หนังสือบังคับการ               ง. หนังสือประชาสัมพันธ์ 

24. การออกหนังสือรับรอง ต้องติดรูปถ่ายหรือไม่ตามระเบียบฯ 

      ก. ต้องติดทุกครั้งตามระเบียบ 

      ข. ไม่จำเป็น 

      ค. ในกรณีเป็นเรื่องสำคัญที่ออกให้แก่บุคคลให้ติดรูปถ่ายด้วย 

      ง. ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ 

      จ. แล้วแต่ความต้องการของผู้ขอ 

25. หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ มีกี่ประเภท 

ก.  2  ประเภท                         ข.  3  ประเภท         

ค.  4  ประเภท                         ง.   5  ประเภท         

จ.  6  ประเภท 

26. การระบุชั้นความเร็วให้ใช้ตัวอักษรสี 

ก. เขียว                    ข. ดำ                       

ค. น้ำเงิน                 ง. แดง 

27. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติทันทีที่ได้รับ 

ก. ด่วนที่สุด             ข .ด่วนมาก             

ค. ด่วน                     ง. ด่วนภายใน 

28. ชั้นความลับของหนังสือให้ระบุไว้ที่ 

      ก. ส่วนบนของหนังสือ 

      ข. ส่วนล่างของหนังสือ 

      ค. ส่วนบนและส่วนล่างของหนังสือ 

      ง. ไม่มีข้อใดถูก 

29. ข้อใดไม่ใช้กระดาษตราครุฑ 

      ก. หนังสือภายใน                   ข. หนังสือภายนอก 

      ค. หนังสือประทับตรา             ง. แถลงการณ์ 

30. ข้อใดถูกต้อง 
       ก. ทะเบียนตามระเบียบงานสารบรรณมีทะเบียนหนังสือรับ ทะเบียนหนังสือส่ง ทะบียนหนังสือเก็บ 
       ข. ประกาศคือหนังสือสั่งการ 
       ค. การเก็บหนังสือเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว ให้ประทับตรากำหนด เก็บหนังสือไว้ที่มุมด้านซ้ายของแผ่นกระดาษแผ่นแรก 
       ง. หนังสือด่วนมาก หมายถึง ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ 
       จ. หนังสือด่วนที่สุด หมายถึง ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว 

31. ตามระเบียบงานสารบรรณฯ หนังสือที่จัดทำขึ้นปกติให้มีสำเนาคู่ฉบับกี่ฉบับ 
        ก. ฉบับเดียวก็พอ 
        ข. ต้นเรื่อง  สารบรรณกอง และสาบรรณกรม รวม 3 ฉบับ 
        ค. ต้นเรื่อง  และสารบรรณกลาง  รวม  2 ฉบับ 
        ง. ปกติ 2 ฉบับ แต่ควรมีสำรองไว้อีก 1 ฉบับ  รวม 3 ฉบับ 
        จ. แล้วแต่ประเภทหนังสือ 
32. ในสำเนาคู่ฉบับ ให้ลงลายมือชื่อของผู้ใดบ้าง 
        ก. ผู้ร่าง  และผู้พิมพ์ 
         ข. ผู้ร่าง  ผู้พิมพ์  และผู้ตรวจ 
        ค. ผู้พิมพ์  และผู้ตรวจ. 
        ง. ผู้พิมพ์  ผู้ตรวจ  และหัวหน้าส่วนราชการ 
33. สำเนาหนังสือใช้เรียก หนังสือที่มาจาก 
        ก. การถ่ายเอกสารจากต้นฉบับ 
        ข. การคัดลอกจากต้นฉบับ 
        ค. การอัดสำเนาจากต้นฉบับ 
        ง. ถูกทุกข้อ 
34. ตามระเบียบงานสารบรรณผู้ที่จะลงนามรับรองสำเนาหนังสือราชการต้องเป็นข้าราชการพลเรือนตำแหน่งระดับใดขึ้นไป 
ก. 1                ข. 2                ค. 3                ง. 4                จ. 5) 

35.ตามระเบียบงานสารบรรณผู้ที่จะลงนามคำรับรองสำเนาหนังสือให้ใช้คำว่า 
        ก. รับรองสำเนา                ข. รับรองถูกต้อง 
        ค. สำเนาถูกต้อง                จ. สำเนาถูกต้องตามต้นฉบับ 

36. ตรารับหนังสือ ตามระเบียบงานสารบรรณมีการกรอกรายละเอียด ดังนี้ 
        ก. เลขรับ  วันที่  และเวลา 
        ข. ให้ระบุชื่อส่วนราชการ  เลขรับ  วันที่  และเวลา 
        ค. เหมือนข้อ  ข. แต่ให้ระบุชนิดความเร่งด่วนด้วย 
        ง. ระเบียบฯ มิได้ระบุไว้ 
        จ. ให้ส่วนราชการพิจารณาตามความเหมาะสม 

37. หนังสือที่ต้องลงทะเบียนรับ คือหนังสือประเภทใด 
       ก. หนังสือที่ผู้อำนวยการ เขียนถึง เจ้าหน้าธุรการ
       ข. หนังสือที่รับเข้ามาจากภายนอก 
        ค. หนังสือที่รับเข้ามาจากเพื่อนร่วมงาน 
        ง. ไม่มีข้อใดถูก 

38. เลขทะเบียนรับหนังสือให้เรียงหันตามลำดับและให้เริ่มต้นใหม่เมื่อ 

      ก. วันเริ่มต้นปีงบประมาณ 
            ข. วันเริ่มต้นปีปฏิทิน 
      ค. วันเริ่มต้นเดือนเมษายน 
      ง. ไม่มีข้อใดถูก 
39. การเก็บหนังสือตามระเบียบงานสารบรรณ แบ่งเป็นกี่ประเภท   
ก.  2  ประเภท                ข.  3  ประเภท         
ค.  4  ประเภท                ง.   5  ประเภท 

40. การเก็บหนังสือ ตามระเบียบงานสารบรรณฯ แบ่งออกเป็น 
        ก. การเก็บระหว่างปฏิบัติ, การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว และการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ 
        ข. การเก็บระหว่างปฏิบัติ และการเก็บหลังการปฏิบัติ 
        ค. การเก็บก่อนปฏิบัติ ระหว่างปฏิบัติ และหลังการปฏิบัติ 
        ง. การเก็บหนังสือเกี่ยวกับการเงินและไม่เกี่ยวกับการเงิน 
        จ. การเก็บระหว่างปฏิบัติ หลังปฏิบัติ และเก็บเพื่อทำลาย 

41. อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้นานเท่าใด 
        ก. ไม่น้อยกว่า  2  ปี                        ข. ไม่น้อยกว่า  4  ปี 
        ค. ไม่น้อยกว่า  6  ปี                        ง. ไม่น้อยกว่า  8  ปี 
        จ. ไม่น้อยกว่า  10  ปี 

42. หนังสือที่มีอายุครบกี่ปี ซึ่งส่วนราชการจะต้องจัดส่งพร้อมบัญชีส่งมอบให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร 
    ทุกปีปฏิทิน เว้นแต่หนังสือที่ระเบียบกำหนดไว้ 
      ก.  5  ปี                        ข.  10  ปี               
      ค.  15  ปี                        ง.  20  ปี                 
            จ.  25  ปี 

43. หนังสือที่เป็นธรรมดาสามัญ ซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการแล้วให้เก็บไว้เป็น 
       เวลาไม่น้อยกว่า   
        ก.  1  ปี                        ข.  2  ปี                 
                ค.  3  ปี                        ง . 5  ปี                 
                จ.  6  ปี 

44. หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม  จารีตประเพณี  สถิติ ฯลฯ ปกติแล้วจะต้องเก็บรักษาไว้นานเท่าใด 
ก.  5  ปี                        ข.  10  ปี                 
ค.  20  ปี                        ง.  25  ปี               
จ. ไม่มีข้อใดถูก 

45. หนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป ให้ประทับตราคำว่า 
        ก. ห้ามเคลื่อนย้าย                ข. เก็บไว้ใช้เพื่อตรวจสอบ 
        ค. เก็บไว้ตลอดไป                ง. ห้ามทำลาย 

46. หนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดเวลาให้ประทับตราคำว่า ? เก็บถึง  พ.ศ. ....... ? ด้วยหมึก 
ก. สีเขียว                        ข. สีดำ                 
ค. สีน้ำเงิน                       ง. สีแดง 

47. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับระยะของการเก็บหนังสือ 
         ก. เก็บไว้เพื่อทำลาย 
          ข. เก็บไว้ระหว่างปฏิบัติ 
          ค. การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว 
          ง. การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ 
          จ. การเก็บไว้ระหว่างปฏิบัติและการเก็บ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว 

48. การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมต้องเป็น 
        ก. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป 
        ข. หัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป 
         ค. หัวหน้าส่วนราชการระดับฝ่ายขึ้นไป 
        ง. หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป 
        จ. หัวหน้าส่วนราชการระดับใดก็ได้ ขึ้นกับประเภทของหนังสือ 

49. การทำลายหนังสือ ผู้รับผิดชอบต้องสำรวจเสนอเมื่อใด 
        ก. ภายในวันที่ 31 ธ.ค.  ของทุกปี 
         ข. ภายในวันที่ 30 ก.ย.  ของทุกปี 
         ค. ภายใน 30 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน 
        ง. ภายใน 60 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน 
         จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

50. หนังสือที่เกี่ยวกับการเงินที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ หากเก็บไว้เพียง 5 ปี แล้วเห็นว่าไม่จำเป็นประสงค์จะทำลาย ควรดำเนินการ 
        ก. ทำลายได้เลย 
        ข. ขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง 
         ค. ขอทำความตกลงกับสำนักงานคณะกรรมการจรวจเงินแผ่นดิน 
        ง. ขออนุมัติกระทรวงเจ้าสังกัด 
        จ. ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง 

51. ใครเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ 
        ก. หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง 
        ข. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม 
        ค. หัวหน้าส่วนราชการระดับหัวหน้าฝ่าย 
       ง.หัวหน้าส่วนราชการระดับกองที่รับผิดชอบการเงิน 
       จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

52. คณะกรรมการทำลายหนังสือ โดยปกติต้องแต่งตั้งจากข้าราชการระดับใด 
        ก. ข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป 
        ข. ข้าราชการระดับ 4 หรือเทียบเท่าขึ้นไป 
        ค. ข้าราชการระดับ 5 หรือเทียบเท่าขึ้นไป 
        ง. ข้าราชการระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

53. ตราครุฑ สำหรับแบบพิมพ์มีกี่ขนาด 
        ก. มีขนาดเดียว                ข. มี 2 ขนาด         
                ค. มี 3 ขนาด                  ง. มี 4 ขนาด       
                จ. ระเบียบมิได้ระบุ 

54. ตราครุฑ ขนาดที่ใช้ในกระดาษบันทึกข้อความมีขนาด 
        ก.  1  ซ.ม.                ข. 1.5  ซ.ม     
                ค.  2  ซ.ม.                ง. 3  ซ.ม 

55. มาตรฐานกระดาษ ปกติให้ใช้กระดาษขาว น้ำหนัก 
        ก. 50  กรัมต่อตารางเมตร 
        ข. 60  กรัมต่อตารางเมตร 
        ค. 70  กรัมต่อตารางเมตร 
        ง. 80  กรัมต่อตารางเมตร 

56. มาตรฐานกระดาษ ปกติใช้กระดาปอนด์ขาวกี่ขนาด 
        ก. 3 ขนาด  คือ  เอ4  เอ5  เอ8 
        ข. 2 ขนาด  คือ  เอ4  และ เอ8 
        ค. 4 ขนาด  คือ   เอ4  เอ5  เอ7  เอ8 
        ง. ให้หน่วยงานใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสม 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

57. กระดาษครุฑ ระเบียบระบุให้ใช้กระดาษขนาดใด 
         ก. ให้ใช้ได้ 2 ขนาด  คือ  เอ4  หรือ เอ8 
        ข. ให้ใช้ได้ 2 ขนาด  คือ  เอ4  หรือ เอ5 
        ค. ให้ใช้ขนาดเดียว คือ เอ5 
        ง. ให้ใช้กระดาษขนาด เอ4 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

58. กระดาษบันทึกข้อความ ระเบียบระบุให้ใช้กระดาษขนาดใด 
        ก. ให้ใช้ได้ 2 ขนาด  คือ  เอ4  หรือ เอ8 
        ข. ให้ใช้ได้ 2 ขนาด  คือ  เอ4  หรือ เอ5 
        ค. ให้ใช้ขนาดเดียว คือ เอ4 
        ง. ให้ใช้ได้ขนาดเดียว คือ  เอ5 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 
59. มาตรฐาน ซอง ปกติใช้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาล กี่ขนาด 
        ก.  4  ขนาด  คือ  ซี5  ซี6  และซี7 
        ข. 4  ขนาด  คือ  ซี4  ซี5  ซี6  และ ดี แอล 
        ค. 4  ขนาด  คือ  ซี4  ซี5  ซี  แอล  และ  ดี  แอล 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

60. ซองหนังสือที่ใช้บรรจุหนังสือกรกะดาษตราครุฑพับ 4 เป็นซองขนาดใด 
ก.  C4                ข. C5                ค. C6    ง. DL 

61. คำขึ้นต้น  หนังสือราชการถึงสมเด็จพระสังฆราช ตามระเบียบกำหนดให้ใช้ว่าอย่างไร 
        ก. นมัสการ         
        ข. กราบทูล 
        ค. ขอกราบทูลนมัสการ 
        ง. ขอประทานกราบทูล 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

62. คำขึ้นต้น  หนังสือราชการถึงพระราชาคณะ ตามระเบียบกำหนดให้ใช้ว่าอย่างไร 
        ก. นมัสการมายัง 
        ข. กราบนมัสการ 
        ค. ขอประทานนมัสการ 
        ง. นมัสการ 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

63. คำลงท้าย  หนังสือราชการถึงสมเด็จพระสังฆราช ตามระเบียบกำหนดให้ใช้ว่าอย่างไร 
        ก. ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 
        ข. ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม 
         ค. ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง 
        ง. ขอกราบทูลนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

64. คำลงท้าย  หนังสือราชการถึงพระราชาคณะ ตามระเบียบกำหนดให้ใช้ว่าอย่างไร 
        ก. นมัสการด้วยความเคารพ 
        ข. นมัสการ 
        ค. ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง 
        ง. ขอนมัสการด้วยความนับถืออย่างสูง 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

65. คำขึ้นต้น  หนังสือราชการถึงประธานองคมนตรี  ตามระเบียบระบุให้ใช้อย่างไร 
        ก. กราบทูล                ข .ขอประทานกราบทูล       
        ค. กราบเรียน                ง. เรียน                 
                จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

66. คำขึ้นต้น  หนังสือราชการถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามระเบียบระบุให้ใช้อย่างไร 
        ก. กราบทูล                ข .ขอประทานกราบทูล         
                ค. กราบเรียน                ง. เรียน                 
        จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

67. คำลงท้าย  หนังสือราชการถึงประธานองคมนตรี  ตามระเบียบระบุให้ใช้อย่างไร 
      ก. ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง 
      ข. ขอแสดงความนับถืออย่างสูง 
      ค. ขอแสดงความนับถือ 
      ง. ขอแสดงความเคารพอย่างสูง 
      จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

68. คำลงท้าย  หนังสือราชการถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามระเบียบระบุให้ใช้อย่างไร 
            ก. ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง 
            ข. ขอแสดงความนับถืออย่างสูง 
            ค. ขอแสดงความนับถือ 
            ง. ขอแสดงความเคารพอย่างสูง 
            จ. ระเบียบมิได้ระบุไว้ 

69. ผู้ดำรงตำแหน่งใดที่ใช้คำลงท้ายของหนังสือราชการแตกต่างกัน 
        ก. ประธานองคมนตรีและประธานศาลฎีกา 
        ข. นายกรัฐมนตรีและประธานศาลฏีกา 
        ค. ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ 
        ง. นายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษ 
        จ. ไม่มีข้อใดถูก 

70. คำขึ้นต้นหนังสือราชการถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ใช้ว่าอย่างไร 
        ก. กราบเรียน                 ข. กราบเรียน ฯพณฯ         
                ค. เรียน                        ง. ขอประทานกราบเรียน         จ. ไม่มีข้อใดถูก 

71. ถ้ามีหนังสือถึงประธานสภาจังหวัดใช้คำลงท้ายว่า 
        ก. ขอแสดงความนับถืออย่างสูง 
        ข. ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง 
        ค. ขอแสดงความนับถือ 
        ง. ด้วยความนับถืออย่างสูง 
        จ. ด้วยความนับถืออย่างยิ่ง 

72. คำขึ้นต้นถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ใช้คำว่า 
        ก. ถึง                        ข. เรียน               
        ค. เรียนเสนอ                 ง. กราบเรียน 

73. ในการเขียนจดหมายราชการ ควรหลีกเลี่ยงข้อใด 
        ก. เขียนให้ถูกต้องตามแบบหนังสือราชการ 
        ข. เขียนให้ชัดเจนเข้าใจง่าย 
        ค. เขียนด้วยการใช้สำนวนโวหาร   
        ง. เขียนให้มีข้อความสุภาพ 

74. ข้อใดถูกต้องในการเขียนวันที่ตามระเบียบสารบรรณ 
        ก.  14 กรกฎาคม 2539 
        ข. วันที่ 14 กรกฎาคม 2539 
        ค. 14 ก.ค. 2539 
        ง.  14 กรกาคม พ.ศ. 2539 

75. การจ่าหน้าซองหนังสือส่งให้ระบุชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือไว้ที่   
        ก. มุมบนด้านซ้าย ใต้ครุฑ 
        ข. มุมบนด้านซ้าย ข้างครุฑ 
        ค. มุมล่างด้านว้าย 
        ง. มุมล่างด้านขวา 

76. การพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อ ข้อใดถูกที่สุด 
        ก. นายองค์การ  รักท้องถิ่น 
        ข. น.ส. สุดสวย  รักบ้าน 
        ค. (องค์การ  รักท้องถิ่น) 
        ง. (นางสาวสุดสวย  รักบ้าน) 

77. ในการจัดทำรายงานการประชุมไม่ต้องใส่ข้อใด 
        ก. สถานที่ประชุม 
        ข. วัน เดือน  ปีที่ประชุม 
        ค. เวลาที่เริ่มประชุม 
         ง. ประธานในที่ประชุม 

78. การกำหนดชื่อ ? เรื่อง ? ในหนังสือราชการ 
        ก. ถ้าเป็นหนังสือต่อเนื่องให้ลงชื่อเรื่องเดิม 
        ข. ให้ลงเรื่องเต็มของหนังสือ 
        ค. ให้ลงเรื่องย่อเป็นใจความสั้นที่สุด 
        ง. ถูกทั้งข้อ  ก.  และ  ค. 

79. ในหนังสือภายนอก ด้านล่างซ้าย คือ 
        ก. ชื่อที่หน่วยงานที่ออกหนังสือ 
        ข. ชื่อเจ้าของหนังสือ 
        ค. ชื่อตำแหน่งเจ้าของลายมือชื่อ 
        ง. ถูกทั้งข้อ  ก.  และ  ค. 

80. หนังสือเวียน หมายถึง 
        ก. หนังสือที่มีข้อความซ้ำๆ กัน ส่งถึงผู้รับคนเดียวกัน 
        ข. หนังสือที่มีข้อความอย่างเดียวกัน ส่งถึงผู้รับจำนวนมาก 
        ค. หนังสือที่มีข้อความเป็นแบบมาตรฐาน ส่งถึงผู้รับจำนวนมาก 
         ง. หนังสือที่ทำขึ้นเพื่อส่งข้อความประชาสัมพันธ์ 
81. หนังสือประทับตรา ไม่ควรใช้ในกรณีใด 
        ก. ส่งสำเนาหนังสือ 
        ข. เตือนเรื่องค้าง 
        ค. ขอรายละเอียดเพิ่มเติม 
        ง. ตอบรับทราบเกี่ยวกับการเงิน 

82. หลักการจัดเก็บเอกสารเข้าแฟ้มที่ถูกต้อง คือข้อใด 
        ก. เก็บรวบรวมเรื่องทุกเรื่องไว้ในแฟ้มเดียวกัน 
        ข. เก็บเอกสารวันที่ล่าสุดไว้ข้างหลัง 
        ค. เก็บแยกตามประเภท  หมวดหมู่ของเอกสาร 
        ง. ปล่อยให้เอกสารมีจำนวนมากก่อนจึงนำมาเก็บเข้าแฟ้ม 

83. ในหนังสือเชิญประชุม ควรมีสาระที่สำคัญ คือ 
        ก. กำหนด  วัน  เดือน  ปี  ที่ประชุม 
         ข. กำหนดสถานที่ประชุม 
        ค. แจ้งเรื่องที่จะประชุม 
        ง. ถูกทุกข้อ 




 เฉลย1.ง        2.ค        3.ก        4.ง        5.ข        6.ง        7.ข        8.ค        9.ง        10.ข 
11.จ        12.ค        13.จ        14.ค        15.ก        16.ง        17.ข        18.จ        19.ก        20.ค 
21.ค        22.ง        23.ข        24.ค        25.ข        26.ง        27.ก        28.ค        29.ก        30.ก 
31.ค        32.ข        33.ง        34.ข        35.ค        36.ก        37.ข        38.ข        39.ข        40.ก 
41.จ        42.จ        43.ก        44.จ        45.ง        46.ค        47.ก        48.ข        49.ง        50.จ 
51.ข        52.ก        53.ข        54.ข        55.ข        56.ก        57.ง        58.ข        59.      60.ข 
62.ง        63.ก        64.ข        65.ค        66.ค        67.ก        68.ก        69.จ        70.ค       
71.ค        72.ข        73.ค        74.ก        75.ก        76.ง        77.ง        78.ง        79.ก        80.ข 
81.ง        82.ค        83.ง        
สรุปถาม-ตอบพนักงานพัสดุ 
1.  การจัดหาพัสดุโดยวิธีตกลงราคา จะต้องขออนุมัติ การจัดหาทุกครั้งหรือไม่
      คำตอบ :  ต้องได้รับอนุมัติให้จัดหาทุกครั้ง ตามระเบียบฯ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 27 และข้อ 29

2.  การจ้างเหมาบริการ (ลูกจ้าง) ด้วยงบประมาณงบดำเนินงาน หากมอบหมายให้ปฏิบัตินอกเวลา จะเบิกค่าอาหารทำการนอกเวลา ได้หรือไม่
      คำตอบ :  เบิกไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง

3.  หน่วยงานได้รับงบประมาณค่าครุภัณฑ์ จำนวน 3 รายการ จะแยกซื้อแต่ละรายการได้หรือไม่
      คำตอบ : ในหลักการแล้ว เมื่อได้รับงบประมาณในการจัดหาพัสดุมาในคราวเดียวกัน จะต้องดำเนินการจัดหาพร้อมกัน  เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็นตามความต้องการใช้งาน ตามวันเวลาที่แตกต่างกัน หากแยกซื้อแต่ละรายการ อาจเป็นการแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างได้

4.  การตรวจสอบเอกสารในการเสนอราคา หากผู้เสนอราคาไม่ยื่นบัญชีผู้มีอำนาจควบคุมจะผิด เงื่อนไขหรือไม่
      คำตอบ :  การที่ทางราชการกำหนดให้ผู้เสนอราคาต้องยื่นบัญชี  ผู้มีอำนาจควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อการตรวจสอบว่าผู้เสนอราคา มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่  หากผู้เสนอราคารายใดไม่ยื่นบัญชี ผู้มีอำนาจควบคุมอาจสันนิษฐานได้ว่าผู้เสนอราคารายนั้นไม่มีผู้มีอำนาจควบคุม แต่หากปรากฏภายหลังว่าผู้เสนอราคารายนั้นมีผู้มีอำนาจควบคุมในการบริหารงานของผู้เสนอรายนั้น แต่ไม่ได้ยื่นบัญชีผู้มีอำนาจควบคุมถือว่ามีเจตนาปกปิด หรือแสดงเอสารอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หน่วยงานจะต้องดำเนินการพิจารณาให้ผู้เสนอราคารายนั้นเป็นผู้เสนอราคาที่ผิดเงื่อนไขในสาระสำคัญตามประกาศของทางราชการและจะต้องดำเนินการเสนอให้ผู้เสนอราคานั้นเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบ  ซึ่งผู้เสนอราคานั้นอาจมีความผิดทางอาญา หรืออาจต้องรับผิดต่อทางราชการทางแพ่งหากทางราชการเสียหาย

5.  การจัดหาพัสดุโดยวิธีสอบราคา  หน่วยงานจะกำหนดให้มีการขายเอกสารในประกาศสอบราคาได้หรือไม่
      คำตอบ :  ระเบียบไม่ได้กำหนดให้มีการขายเอกสาร

6.  ประกาศสอบราคาสามารถจะกำหนดตัดสิทธิผู้มีไม่มาฟังผลการเปิดซองใบเสนอราคาได้หรือไม่         
          คำตอบ :  ไม่ได้

7.  ประกาศสอบราคา หรือประกาศประกวดราคา หน่วยงานจะต้องประกาศราคากลางหรือไม่
      คำตอบ :  มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ต้องประกาศราคากลางให้ผู้เสนอราคาได้รับทราบ

8.  ส่วนราชการได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายวัสดุอาหาร  ในกรณีที่วัสดุอาหารมีราคาสูงขึ้นเนื่อง จากสภาวะเศรษฐกิจ  ผู้ขายจะปรับราคาได้หรือไม่
      คำตอบ :  ในหลักการระเบียบฯ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
          ข้อ 136 วรรคแรก กำหนดว่า “สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยน แปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้น จะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้ทางราชการต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราช การที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงิน จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ หรือขอทำความตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณีด้วย
          ข้อ  136 วรรคสอง กำหนดว่า “การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา หรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง หากมีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบหรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป”
          ดังนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้ทำไว้แล้ว โดยที่ส่วนราชการจะปรับเพิ่มราคาค่าวัสดุอาหาร ให้สูงขึ้นกว่าราคาที่กำหนดไว้ตามสัญญา ตามคำร้องขอของ ผู้ขายเนื่องจากวัตถุดิบมีราคาเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ  เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ ที่จะพิจารณาให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ของระเบียบที่กำหนด ทั้งนี้ กรณีใดที่จะเป็นประโยชน์ แก่ทางราชการให้คำนึงถึงความเป็นธรรม  โดยพิจารณาข้อเท็จจริงควบคู่กันไปด้วย

9.  การแลกเปลี่ยนยางรถยนต์ ทำได้หรือไม่
      คำตอบ :  ทำได้โดยถือปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 123

10.  การตรวจรับพัสดุประจำปี มีพัสดุบางรายการ ขาดหายไป กรรมการจึงไม่ยอมรับ หรือบันทึกว่ามีครบถ้วน  งานพัสดุจะทำอย่างไร
      คำตอบ :งานพัสดุ ควรต้องรายงานข้อเท็จจริงให้หัวหน้าส่วนราชการได้รับทราบ เพื่อให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง ตามระเบียบฯ ข้อ 156

11.  ได้รับงบประมาณในการซื้อวัสดุ 200,000 บาท  ให้จัดทำโต๊ะ จะแบ่งซื้อวัสดุย่อย เช่น ไม้ เหล็ก อุปกรณ์จะได้หรือไม่
      คำตอบ :  ต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำโต๊ะในคราวเดียวกัน หากจัดซื้อแต่ละรายการ อาจเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง

12.  หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นกรรมการตรวจการจ้างได้หรือไม่
      คำตอบ :  ระเบียบไม่ได้ห้าม ดังนั้นจึงเป็นได้

13.  คณะกรรมการประกวดราคา เป็นกรรมการตรวจการจ้างได้หรือไม่
      คำตอบ :  ระเบียบไม่ได้ห้าม ดังนั้นจึงเป็นได้ แต่คณะกรรมการประกวดราคาจะเป็นกรรม การตรวจรับพัสดุไม่ได้

14.  สัญญาจ้างปรับปรุงห้องฉายภาพยนตร์ สัญญาแบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 3 งวด   ทำงานงวดที่ 1 งวดที่ 2  เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา  และเบิกจ่ายเงินไปแล้ว  แต่งวดที่ 3  ไม่สามารถดำเนิน การได้  เนื่องจากส่วนราชการไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ได้  โดยไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้าง  ผู้รับจ้างจะยกเลิกสัญญาในงวดที่ 3 ได้หรือไม่
      คำตอบ :  การยกเลิกสัญญา หากหน่วยงานพิจารณาแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการหรือทางราชการไม่เสียหายแล้ว สามารถดำเนินการได้ตามระเบียบพัสดุ ข้อ 137 ซึ่งเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ

15.  การขอหนังสือรับรองผลงาน ผู้ใดเป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาและควรออกให้เมื่อใด
      คำตอบ :การออกหนังสือรับรองผลงาน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านพัสดุ ซึ่งไม่มีระเบียบกำหนดให้ผู้ใดต้องพิจารณาเสนอความเห็น แต่โดยทั่วไปแล้วในทางปฏิบัติ เห็นว่าควรจะเป็นเจ้าหน้าที่ด้านพัสดุ สำหรับการออกหนังสือรับรองผลงานจะออกให้เมื่อใด ควรจะเป็นดุลพินิจเมื่อมีการร้องขอ ซึ่งอาจต้องพิจารณาให้สอดคล้อง กับระยะเวลาของการเสนอราคา ในงานที่เกี่ยวข้อง

16.  ประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุไม่อยู่จะทำอย่างไร
      คำตอบ :  ในกรณีที่ประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หัวหน้าส่วนราชการจะต้องแต่งตั้งข้าราชการที่มีคุณสมบัติตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้ปฏิบัติหน้าที่แทน

17.  ผู้ควบคุมงาน  มีหน้าที่อย่างไร
      คำตอบ :  ผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบพัสดุ ข้อ 73 มีหน้าที่ดังนี้
          (1)  ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา  หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้นๆทุกวัน  ให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด  และข้อกำหนดในสัญญาทุกประการโดยสั่งเปลี่ยน แปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร  และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็น ไปตามแบบรูป  รายการละเอียด  และข้อกำหนดในสัญญา  ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดแล้วแต่กรณีไว้ก่อน  จนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งและให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที
          (2)  ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูปรายการละเอียด  หรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด  และข้อกำหนดในสัญญา  แต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง  หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี  หรือไม่ปลอดภัยให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อน  แล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว
          (3)  จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน  พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน  หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย ๒ ฉบับ  เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์  และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวด  โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย
          (4)  ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างตามสัญญาและในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด  ให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่  ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน 3วันทำการ  นับแต่วันถึงกำหนดนั้น ๆ

18.  คณะกรรมการตามระเบียบพัสดุ 2535  ชุดใดบ้างมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม
      คำตอบ :  กรมบัญชีกลางตอบข้อหารือกระทรวง ICT  ว่าคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามข้อ 34 และข้อ 79 ตามระเบียบพัสดุ พ.ศ. 2535  มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม

19.  หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ ได้รับมอบอำนาจให้ลงนามสั่งซื้อสั่งจ้าง หัวหน้าส่วนราช การจะแต่งตั้งบุคคลนั้น เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุได้หรือไม่
      คำตอบ :  ในหลักการ กรณีนี้หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ ได้รับมอบอำนาจจากหัวหน้า ส่วนราชการให้ลงนามสั่งซื้อสั่งจ้างซึ่งไม่ใช่เป็นกรณีที่ไม่ใช่เป็นการได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน หัวหน้าส่วนราชการ  ในการอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างแล้วย่อมเป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ ที่จะแต่งตั้งบุคคลนั้นเป็น หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่การได้รับมอบอำนาจ ให้ปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าส่วนราชการในการอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างแล้ว ไม่เหมาะ สมที่จะแต่งตั้งให้เป็น หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เนื่องจากในหลักการควบคุมแล้วผู้ที่มีอำนาจสั่งซื้อ สั่งจ้าง ไม่สมควรที่จะเป็นผู้ปฏิบัติงาน
          ระเบียบฯ ข้อ 39  การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคา  ให้เจ้าหน้าที่พัสดุติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง  แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการตามข้อ  29

20.  กรณีตกลงราคา ต้องทำใบสั่งซื้อสั่งจ้างหรือไม่
      คำตอบ :  การจัดหาพัสดุโดยวิธีตกลงราคา หากไม่ทำเป็นสัญญา จะต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน เว้นแต่ในกรณีการจัดหาพัสดุซึ่งมีราคาไม่เกิน 10,000 บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้าง ซึ่งใช้วิธีดำเนินการตามข้อ39 วรรคสองจะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้

21.  อยากทราบว่า หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสัดส่วนความรับผิดในทางละเมิด
      คำตอบ :สัดส่วนความรับผิดในทางละเมิดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กระทรวงการคลังกำหนดตามหนังสือ ที่ กค 0406.2/ว66 ลงวันที่ 25 กันยายน 2550 เช่นการจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง ผู้รับผิดได้แก่ คณะกรรมการพิจารณาผล ฝ่ายพัสดุที่ผ่านงานผู้บังคับบัญชา  ผู้ผ่านงาน ผู้อนุมัติ  ซึ่งมีสัดส่วนดังกล่าว 60 : 20 : 10 : 10  เป็นต้น

22. หน่วยงานไม่มีที่เก็บพัสดุ แต่จำเป็นต้องจัดซื้อคราวละมากๆ จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร
เพราะคณะกรรมการไปตรวจรับที่คลังผู้ขายไม่ได้ หรือจะฝากผู้ขายไว้ก็ไม่ได้
      คำตอบ :ในกรณีที่หน่วยงานไม่มีที่เก็บพัสดุ เมื่อมีความจำเป็นต้องจัดซื้อคราวละมากๆ ควรจะ ต้องดำเนินการจัดหาที่มีเงื่อนไขการส่งมอบพัสดุตามปริมาณสถานที่และวันเวลา ที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อแต่ละคราว ซึ่งหน่วยงานผู้ซื้อจะออกใบสั่งซื้อมอบให้แก่ผู้ขายล่วงหน้า ตามกำหนดเวลา ที่ตกลงกันตามรูปแบบ สัญญาจะซื้อจะขายคงที่ไม่จำกัดปริมาณ

23.  การบอกเลิกสัญญา หน่วยงานจะยกเลิกโดยมีหนังสือบอกกล่าวได้หรือไม่
      คำตอบ : ได้

24.  นำรถยนต์ราชการซึ่งมีประกันภัยชั้น 1  ไปใช้รถถูกโจรกรรม ต้องรับผิดชอบหรือไม่ (บริษัทประกันชดใช้ 90%)
      คำตอบ :  ซึ่งคำถามนี้คงต้องมีข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาอีกหลายประเด็น แต่ถ้าในหลักการแล้ว ต้องรับผิดชดใช้ ให้แก่ทางราชการตามที่ทางราชการได้รับความเสียหาย

25.  การแบ่งงวดงานก่อสร้าง เพื่อความสะดวกในการแบ่งจ่ายเงินในแต่ละงวด สัญญาก่อสร้างแบบเหมาจ่าย จึงไม่มีค่าปรับในแต่ละงวด หากผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้า และยังไม่หมดสัญญา ดังนั้น จะระบุวันแล้วเสร็จในสัญญา จำเป็นต้องระบุวันที่หรือไม่
      คำตอบ :  สัญญาทุกสัญญาจำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ด้วย  เนื่องจากหากคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา เช่น ไม่ส่งงานตามงวดงานที่กำหนด ทางราชการไม่อาจจ่ายเงินให้ได้ แต่เมื่อคู่สัญญาผิดนัดไม่สามารถส่งมอบพัสดุ หรืองานก่อสร้าง ภายในกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาแล้ว ทางราชการจะต้องคิดค่าปรับ หรืออาจบอกเลิกสัญญาได้

26.  การระบุยี่ห้อพัสดุ  หากจำเป็นสามารถดำเนินการได้ เมื่อต้องการเปลี่ยนพัสดุที่มีคุณภาพเทียบเท่าจะมีหลักเกณฑ์อย่างไร
      คำตอบ :  การแลกเปลี่ยนพัสดุ มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ตามระเบียบพัสดุ ข้อ 123

27.  คณะกรรมการกำหนด SPEC.  แต่งตั้งจากใครปฏิเสธไม่รับได้หรือไม่    
        คำตอบ :ระเบียบฯ ไม่ได้กำหนดว่าให้แต่งตั้ง คณะกรรมการกำหนด Spec  จึงเป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งหากเห็นว่าเป็นการสมควรที่จะพิจารณาแต่งตั้งควรอนุโลมตามข้อ35 ของระเบียบพัสดุ 2535
          สำหรับการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบฯ ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ข้อ 8 กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการ ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน เพื่อทำหน้าที่กำหนด Specหรือ TOR และต้องนำ Specหรือ TORเผยแพร่ทาง Website เพื่อรับฟังความคิดเห็นด้วย ทั้งนี้เพื่อความโปร่งใส

28.  ค่าเก็บขยะเบิกได้หรือไม่ เบิกในหมวดอะไร             
      คำตอบ :  เบิกได้ เป็นประเภทค่าใช้สอยในงบดำเนินงาน

29.  การจำหน่ายครุภัณฑ์ เมื่อไม่มีผู้ซื้อจะทำอย่างไร
      คำตอบ :  ในหลักการของระเบียบพัสดุ 2535  การจำหน่ายพัสดุ หน่วยงานจะต้องดำเนินการตามระเบียบข้อ 157 ซึ่งระเบียบกำหนดไว้หลายวิธี และถ้าหากการจำหน่ายพัสดุของหน่วยงานได้ดำเนินการขายทอดตลาดแล้วไม่มีผู้สนใจ หรือดำเนินการแล้วไม่ได้ผลควรจะต้องดำเนินการในวิธีอื่น ซึ่งสุดท้ายคงจะต้อง แปรสภาพหรือทำลาย

30. รถราชการเสียระหว่างการเดินทางไปราชการจะดำเนินการอย่างไร เบิกจ่ายอย่างไร ใช้ใบ เสร็จเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่
      คำตอบ : รถราชการหากเกิดความเสียหายระหว่างเดินทางไปราชการ อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำ เป็นเร่งด่วน ซึ่งระเบียบพัสดุ ข้อ39 วรรคสอง กำหนดว่า การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้น ดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าว เป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม

31. การยืมเงินงบประมาณจัดซื้อพัสดุต้องขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่
      คำตอบ :  การจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้ง ต้องดำเนินการขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างก่อนทุกครั้ง เว้นแต่กรณีเร่งด่วน ตามข้อ 39 วรรคสอง ดังนั้น การยืมเงินงบประมาณไปจัดซื้อพัสดุ จึงต้องดำเนินการขออนุมัติทุกครั้ง
32. การประกวดราคาเมื่อปรากฏว่าผลการประกวดราคาสูงต่ำกว่า 15% ของวงเงินงบประมาณใครต้องชี้แจง สตง.
      คำตอบ :  คณะกรรมการกำหนดราคากลาง จะต้องดำเนินการชี้แจงเหตุผลผ่านหัวหน้าส่วนราช การเพื่อแจ้ง สตง.

33. ใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง / การแก้ไขสัญญา
      คำตอบ :อำนาจการสั่งซื้อสั่งจ้าง เป็นไปตามระเบียบพัสดุ ข้อ 65 –ข้อ 67  สำหรับอำนาจในการแก้ไขสัญญาเป็นของหัวหน้าส่วนราชการ  ตามระเบียบพัสดุ ข้อ 136 หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
34. การตรวจร่างสัญญาของอัยการ หากหน่วยงานจะแก้ไขเพิ่มเติม และไม่ส่งให้อัยการตรวจอีกได้หรือไม่                    
      คำตอบ :  สัญญาที่ผ่านสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้ว หากหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุจะทำการแก้ไขเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญ  และไม่ทำให้ทางราชการเกิดความเสียหาย เป็นดุลพินิจที่จะกระทำได้

35. ใครทำ  PO  ไม่ทำได้หรือไม่
      คำตอบ :  ให้เจ้าหน้าที่พัสดุเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ POหากไม่ทำ ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินในระบบ GFMIS  ได้

36. การคิดราคากลาง ต้องคิดค่า factor-f ทุกครั้งหรือไม่  ต้องแต่งตั้ง คณะกรรมการทุกครั้งหรือไม่                   
      คำตอบ :  การคิดราคากลางงานก่อสร้างทุกครั้ง ต้องมี คณะกรรมการกำหนดราคาเป็นผู้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ กรมบัญชีกลางแจ้งเวียน

37. วัสดุ จะซ่อมได้หรือไม่
      คำตอบ :  วัสดุของทางราชการหากไม่สามรถใช้การได้ และมีความจำเป็นต้องซ่อมแซมสามารถที่จะซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานได้ตากปกติ แต่เจ้าหน้าที่ควรพิจารณาด้วยว่า การซ่อมแซมหรือการจัดซื้อใหม่  อย่างไหนมีความคุ้มค่ากว่ากัน เพราะเบิกจ่ายในงบประมาณงบดำเนินงานเหมือนกัน

38. หูฟัง small talk  เบิกได้หรือไม่
      คำตอบ :  หูฟัง small talk  ถือว่าเป็นวัสดุ หากหน่วยงานเห็นว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แก่ราชการแล้วสามารถเบิกจ่ายได้

39. การปรับเปลี่ยนการเติมเชื้อเพลิงจากน้ำมันเป็น NGV  ทำได้หรือไม่
      คำตอบ :  การปรับเปลี่ยนการเติมเชื้อเพลิงจากน้ำมันเป็น NGVเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล สามารถดำเนินการได้

40. การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นกรรมการได้หรือไม่
      คำตอบ :  การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นกรรมการ ไม่มีระเบียบกำหนดห้ามไม่ให้ดำเนินการ แต่ห้ามเฉพาะการตรวจรับพัสดุ หรือตรวจการจ้าง ที่วงเงินไม่เกิน 10,000  บาท  ไม่ให้แต่งตั้งผู้ที่มีหน้าที่ จัดซื้อจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับ

41. หน่วยงานไม่มีเจ้าหน้าที่พัสดุ  ไม่มีข้าราชการในสายบริหาร จะทำอย่างไร
      คำตอบ :  หากหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุไม่มีเจ้าหน้าที่พัสดุ หรือไม่มีข้าราชการอื่นในสายบริหารที่จะต้องปฏิบัติงานด้านพัสดุ หน่วยงานสามารถแต่งตั้งข้าราชการในสายงานอื่นช่วยปฏิบัติราชการได้

42. คณะกรรมการตามระเบียบพัสดุ จะแต่งตั้งอนุกรรมการ ให้ทำหน้าที่แทนได้หรือไม่
      คำตอบ :  ไม่สามารถดำเนินการได้

43. ซื้อวัสดุมาดำเนินการเอง วงเงินค่าวัสดุเกิน 100,000  บาท  จะดำเนินการวิธีใด
      คำตอบ :  หากการจัดหาพัสดุเกิน 100,000  บาท  ต้องดำเนินการโดยวิธีสอบราคา

44. บิลเงินสด จะใช้เป็นหลักฐานการเบิกจ่ายได้หรือไม่
      คำตอบ :  บิลเงินสดที่มีรายการ ตามข้อ 41 แห่งระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551  สามารถใช้เป็นหลักฐานการเบิกจ่ายได้
          สาระสำคัญอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
1.      ชื่อ  สถานที่อยู่  หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
2.      วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
3.      รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร
4.      จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร
5.      ลายมือชื่อผู้รับเงิน

45. ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง  ผู้ขาย  ผู้รับจ้างไม่ลงลายมือชื่อ  ได้หรือไม่
      คำตอบ :  ไม่ได้

46. การจ้างองค์การทหารผ่านศึก รักษาความปลอดภัย สถานที่ทางราชการ จะใช้ตรวจรับหรือหรือตรวจการจ้าง
      คำตอบ :  ใช้ตรวจรับพัสดุ

47. รถเก่าแลกรถใหม่ได้หรือไม่  แลกไม่ได้จะโอนให้ใครได้บ้าง ต้องดำเนินการตามระเบียบหรือไม่
      คำตอบ :  การแลกรถเก่ากับรถใหม่ เป็นการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์ ใช้ระเบียบพัสดุข้อ 123 สำหรับ พัสดุของทางราชการ เมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องใช้งาน การจำหน่ายพัสดุใช้ ระเบียบพัสดุ ข้อ 157

48. การเช่าใช้บริการ internetกับ กสท. / TOTจะต้องจัดหาตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ หรือไม่
      คำตอบ :  การใช้บริการ internetเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภคของรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่การจัดหาพัสดุตามระเบียบพัสดุ ดังนั้น จึงไม่ต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุ

49. การจัดหาพัสดุในวงเงินงบประมาณที่ได้รับจำนวน 52 ล้านบาท เมื่อผลการประกวดราคาในระบบ e-Auction สิ้นสุดลง  ปรากฏว่าผู้เสนอราคาต่ำสุดในวงเงิน 49 ล้านบาท อยากทราบว่าใครเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติในการดำเนินการจัดหาพัสดุ / อำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
      คำตอบ :  การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไม่ว่าวงเงินงบประมาณ  จำนวนเท่าใด  ระเบียบกำหนดให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อปรากฏว่าผลการพิจารณาผู้เสนอราคาต่ำสุด ที่ทางราชการจะจัดซื้อจัดจ้างเป็นวงเงิน 49 ล้านบาท อำนาจการอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างเป็นของหัวหน้าส่วนราชการ

50.  การอนุญาตให้บริษัทเอกชนนำเครื่องถ่ายเอกสารมาตั้งในสถานที่ราชการ
        คำตอบ:  ขณะนี้ส่วนราชการต่างๆ อนุญาตให้บริษัทเอกชนมาตั้งเครื่องถ่ายเอกสารในสถานที่ราชการ      เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร และลดจำนวนพนักงานที่รับผิดชอบในการถ่ายเอกสาร    มีบางหน่วยงานได้ถามขั้นตอนในการปฏิบัติงาน  ขออธิบายพอเป็นสังเขป คือ
ขั้นตอนการดำเนินงาน   
          1.  ขออนุญาต  ให้บริษัทเอกชนมาตั้งเครื่องถ่ายเอกสารที่สำนักงาน  โดยวิธีคัดเลือก เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ
          1.1   เหตุผลความจำเป็นในการอนุญาตให้บริษัทเอกชนมาตั้งเครื่องถ่ายเอกสารที่สำนักงาน
          1. 2  เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก มีประธาน 1 กรรมการอย่างน้อย  2  
         1.3   คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ จำนวน แล้วแต่หน่วยงาน
          2.   จัดทำประกาศรับสมัคร   รายละเอียดในประกาศ
          2.1   ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดที่ไหน
          2.2   คุณสมบัติของผู้สมัคร
          2.3   หลักฐานการสมัคร
          2.4  กำหนดระยะเวลาในการอนุญาตให้บริษัทเอกชนมาตั้งเครื่องถ่ายเอกสารที่ สำนักงาน โดย  ปกติจะใช้ปีงบประมาณเป็นหลัก
          2.5  อัตราค่าเช่าหรือค่าตอบแทน
          2.6  กำหนดวันรับสมัครและคัดเลือก
                   2.6.1  ผู้สนใจรับประกาศระหว่างวันที่ – วันที่
                   2.6.2  วันที่ เวลา สถานที่ ยื่นซองเสนอราคาและเงื่อนไข
                             2.6.3  วันที่ เวลา สถานที่ เปิดซอง
                   2.6.4  ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกและกำหนดวันทำสัญญา
          2.7  เงื่อนไขอื่น ๆ ประกอบ แล้วแต่หน่วยงานจะกำหนด  เช่น อัตราค่าเช่าสถานที่  คุณสมบัติของเครื่องถ่าย      คุณสมบัติของกระดาษ    จำนวนเครื่องถ่าย       การบริการของพนักงานถ่ายเอกสาร  การจ่ายเงินค่าไฟฟ้า เป็นต้น
          2.8  แบบฟอร์มใบสมัคร
                   -ใบเสนอราคาอัตราการให้บริการถ่ายเอกสารแต่ละชนิด และบริการอื่น ๆ
                   -  คุณสมบัติของเครื่องถ่าย และจำนวนเครื่อง
                   -  อื่น ๆ ตามเงื่อนไขในประกาศ
          2.9  แบบฟอร์มการประเมินผลงาน
                  - มีตัวอย่างแบบฟอร์มประเมินผลงานแนบไปด้วย ทางร้านจะได้ปฏิบัติถูกต้อง
          3.   รับสมัคร
          3.1  ใบเสนอราคา พร้อมคุณลักษณะของเครื่อง
          3.2  เอกสารของผู้ประกอบการ
          4.  รายงานผลการคัดเลือก   เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ  (โดยคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก)
          4.1  ใบเปรียบเทียบราคา 
          4.2  ใบเสนอราคาของผู้ประกอบการพร้อมแคตาล๊อก
             4.3   เอกสารของผู้ประกอบการ เช่น ทะเบียนการค้า บัตรประจำตัวประชาชน  บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี เป็นต้น
          5.    ทำสัญญาอนุญาตให้นำเครื่องถ่ายเอกสารมาตั้งที่ในสถานที่ราชการ
          5.1     หลักประกันสัญญา
          5.2     เอกสารประกอบในการเสนอราคา
          6.    เก็บหลักฐานสัญญาตัวจริง 1  ฉบับ ให้ผู้ประกอบการ 1 ฉบับ  

51.  หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน
        คำตอบ :  การลงโทษผู้ทิ้งงานของส่วนราชการ
          ในเรื่องการลงโทษผู้ทิ้งงานซึ่งเป็นมาตรการลงโทษที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายของส่วนราชการจากผู้ทิ้งงาน โดยระบุไว้ในระเบียบฯ ข้อ 145 วรรคสอง  ห้ามส่วนราชการก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานที่ผู้รักษาการตามระเบียบได้ระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว ทั้งนี้หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงานกำหนดอยู่ในระเบียบฯ ข้อ 145 (ทวิ)(1)-(4) ข้อ 145 ตรี และข้อ 145 จัตวา ดังนี้
          1. ผู้ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่มาทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่ทางราชการกำหนดตามระเบียบข้อ 145 ทวิ(1)
          2. คู่สัญญาหรือผู้รับจ้างช่วงที่ทางราชการอนุญาตให้รับช่วงงานได้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงตามระเบียบฯข้อ 145 ทวิ(2)
          3. คู่สัญญาไม่แก้ไขความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง ทำให้งานเสียหายอย่างร้ายแรงตามระเบียบฯข้อ 145 (3)
          4. งานก่อสร้างสาธารณูปโภคมีข้อบกพร่อง หรือไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ครบถ้วนตามข้อ 3 ตามระเบียบฯข้อ 145 ทวิ (4)
          5. งานจ้างที่ปรึกษาหรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานที่มีข้อบกพร่องผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามระเบียบฯ ข้อ 145 ตรี
          6. ผู้กระทำการขัดขวางการแข่งขันราคา หรือกระทำการโดยไม่สุจริตในการเสนอราคา ตามระเบียบข้อ 145 จัตวา
          เมื่อมีการกระทำผิดตามข้อ 1-6 ให้หัวหน้าส่วนราชการทำรายงานพร้อมความเห็นของส่วนราชการนั้น เพื่อประกอบการพิจารณาไปยังปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของส่วนราชการโดยเร็ว เพื่อพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงาน และเมื่อปลัดกระทรวงพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำผิดดังกล่าวข้างต้นเป็นการกระทำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและบุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัด กระทรวงส่งชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไปยังผู้รักษาการตามระเบียบ(ปลัดกระทรวง) เพื่อพิจารณาสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานโดยเร็วตามระเบียบ ข้อ 145 วรรคสอง  

52. การใช้หลักประกันซองมากกว่า 1 อย่างเป็นหลักประกันซองสำหรับงานเดียว
      คำตอบ:  การใช้หลักประกันซองมากกว่า 1 อย่างเป็นหลักประกันซองสำหรับงานเดียวกระทำได้หรือไม่     ข้อหารือหนังสือที่ กค(กวพ) 0408.4/12807 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549
ข้อเท็จจริง
          ส่วนราชการได้ดำเนินการประกวดราคาจ้างขุดบ่อก่อสร้างและขุดลอกลำห้วย ราคากลาง 3,315,602.74 บาท หลักประกันซอง จำนวน 162,850.00 บาท
          ผู้รับจ้างได้ยื่นหลักประกันซอง 2 อย่างดังนี้
          1. หนังสือค้ำประกัน จำนวนเงิน 160,000.00 บาท
          2. แคชเชียร์เช็ค เป็นเงิน 2,850.00 บาท
          รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 162,850.00 บาท
คำวินิจฉัย
          คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ) พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามข้อหารือของส่วนราชการมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า การนำหลักประกันซองมากกว่า 1 อย่างมารวมกันเพื่อใช้ประกันหลัก ประกันซองในงานจ้างเหมาเดียวกันได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 141 จะเห็นว่าได้มีการกำหนดชนิดของหลักประกันซองไว้หลายชนิดและโดยทั่วไปตามเงื่อนไขของการประกวดราคาจะใช้ถ้อยคำในประกาศว่า "หลักประกันซองให้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง" แต่ปรากฏว่าผู้รับจ้างรายนี้ได้นำหลักประกันซองมา 2 อย่าง จะถือว่าผิดเงื่อนไขในการเสนอราคาหรือไม่นั้น
          คณะกรรมการฯ เห็นว่าระเบียบฯ มีเจตนารมณ์ให้เลือกใช้หลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งที่กำหนดไว้ในข้อ 141 หากใช้หลักประกันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 141 รวมกันก็ย่อมกระทำได้ และเมื่อเอกสารประกวดราคาของส่วนราชการกำหนดสอดคล้องกับเงื่อนไขของระเบียบฯข้อ 141 จึงพิจารณาว่าส่วนราชการมีเจตนารมณ์ใช้หลักประกันตามหลักเกณฑ์ของระเบียบฯด้วย
          ดังนั้นผู้รับจ้างได้ยื่นหลักประกันซอง  2  อย่าง  ในการประกวดราคา   เมื่อจำนวนรวมกันแล้วเท่ากับจำนวนเงินหลักประกันซองที่ส่วนราชการกำหนด  สามารถกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขในการประกวดราคา

52.  การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศไทย
       คำตอบ:   หนังสือที่ กค(กวพ)0408.4/2390 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2547)
          ข้อเท็จจริง
          ส่วนราชการ ออกประกาศประกวดราคาซื้อรถบดสั่นสะเทือนขับเคลื่อนด้วยตนเองขนาด 2-3 ตัน ซึ่งมีผู้ผลิตในประเทศไทยและได้รับการจดทะเบียนจากกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว แต่ประกาศประกวดราคาไม่ได้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศไทย ตามระเบียบพัสดุฯข้อ 16 (8) เนื่องจากมีความต้องการให้มีการเปิดกว้าง และเกิดการแข่งขันในการเสนอราคา ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคา 4 ราย ผู้เสนอราคาต่ำสุด เสนอผลิตภัณฑ์ประเทศเยอรมัน จึงขอหารือว่าสมควรพิจารณารับราคาผู้เสนอราคาต่ำสุด หรือจะต้องยกเลิกประกาศประกวดราคาครั้งนี้
          คำวินิจฉัย
          คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่าเมื่อรถดังกล่าวมีผู้ได้รับการจดทะเบียนไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ในการประกวดราคาซื้อจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 16(8) โดยระบุความต้องการเฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศเท่านั้น การที่ส่วนราชการไม่ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศ จึงเป็นการกระทำที่ขัดกับระเบียบฯ ดังนั้น หากจะพิจารณารับราคาผู้เสนอราคาที่มิใช่พัสดุที่ทำในประเทศไทยแล้ว ย่อมขัดกับระเบียบฯดังกล่าว แต่หากจะพิจารณายกเลิกการประกวดราคา จะต้องสามารถชี้แจงเหตุผลให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้เสนอราคาทุกรายได้
          อนึ่งตามมติ ครม.ตามหนังสือด่วนมากที่ นร 0205/ว212 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2544 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็น 2 ส่วนคือ
          1. กำหนดให้การจัดหาพัสดุที่มีผู้ผลิตในประเทศแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศไทย และถือปฏิบัติตามระเบียบพัดสุในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
          2. กำหนดให้กรณีที่มีพัสดุที่ผลิตในประเทศแล้ว แต่มีจำนวนน้อยรายหรือมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุที่ผลิตจากต่างประเทศหรือจะต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศกรณีการจัดหาครั้งหนึ่ง มีราคาต่อหน่วยไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้เป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่จะพิจารณาจัดหาจากต่างประเทศ
          กรณีตามข้อ 2 เป็นการยกเว้นให้จัดหาพัสดุที่ผลิตในต่างประเทศได้ในกรณีของพัสดุทั่วไป มิได้รวมถึงการจัดหาพัสดุที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งระเบียบฯกำหนดการจัดหาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว และหน่วยงานผู้จัดหาต้องถือปฏิบัติตามระเบียบฯอย่างเคร่งครัด

54.  การจ่ายเงินค่าบริการกำจัดปลวก                
        คำตอบ :  หน่วยงานราชการมีการจ้างเหมาบริการบริษัทเอกชนกำจัดปลวก  โดยวิธีตกลงราคาโดยทำสัญญาหรือข้อตกลงไว้ต่อกัน  ผู้รับจ้างจะต้องบริการกำจัดปลวกสำหรับระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็น 1 ปี  หรือ 2 ปี แล้วแต่เงื่อนไขของสัญญา    โดยส่วนใหญ่บริษัท ผู้ให้บริการกำจัดปลวก จะเรียกเก็บค่าบริการก่อนทั้งหมดและจะให้บริการเป็นระยะๆ ตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญา   ได้หรือไม่            
          ตามระเบียบและมติหนังสือเวียนของคณะรัฐมนตรี     ซึ่งมีหนังสือที่เคยหารือไว้แล้ว ตั้งแต่ปี 2524    คือ หนังสือ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ สร.1001/ว44  ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2524  ได้สรุปการจ่ายเงิน และเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่เพื่อนชาวพัสดุด้วยกัน จึงได้นำมาลงใน   ดังนี้               
          สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้มีความเห็นในการจ่ายเงินค่าบริการกำจัดปลวก คือ
                    1.  การจ่ายเงินค่าบริการให้กับผู้รับจ้างทั้งหมดก่อนครบเวลา กำหนดกระทำมิได้
                    2.  การจ่ายเงินค่าเหมาบริการจะต้องจ่ายเงินเมื่องานแล้วเสร็จ
                    3.  การจ่ายเงินจะจ่ายค่าบริการแต่ละครั้งที่ใช้บริการ หรือแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน หรือเป็นงวดตามผลงานที่แล้วเสร็จ

55.   การเปิดเผยสัญญาจ้างและรายละเอียดงวดงาน
         คำตอบ :  เรื่องอุทธรณ์คำสั่งของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งไม่รับฟังคำคัดค้านการเปิดเผยสัญญาจ้างและรายละเอียดงวดงาน
สาเหตุที่อุทธรณ์
          บริษัท A  ผู้อุทธรณ์ ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นผู้รับจ้างทำงานให้หน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้มีหนังสืออุทธรณ์ถึงคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากหน่วยงานราชการไม่ฟังคำคัดค้านของบริษัทฯ ในกรณีที่มิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจ้างระหว่างหน่วยงานราชการกับบริษัท B เพราะบริษัท B ต้องการได้ข้อมูลข่าวสารไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน มิใช่ประโยชน์สาธารณะ และมิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างดังกล่าว อีกทั้งยังมีคดีพิพาทกับผู้อุทธรณ์อยู่ด้วย และขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล
เหตุผลในการปฏิเสธ
          หน่วยงานราชการ เห็นว่าคำคัดค้านของผู้อุทธรณ์ไม่มีเหตุผลเพียงพอ    สัญญาจ้างดังกล่าวไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามนัยมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.  2540
การพิจารณา
          คณะกรรมการวินิจฉัยฯ พิจารณาเห็นว่า สัญญาจ้างดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานราชการนั้น จึงถือเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อมูลดังกล่าวเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับสัญญาซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาจ้างที่หน่วยงานของรัฐทำกับเอกชน อีกส่วนเป็นรายละเอียดงวดงาน งวดเงินที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่าย เป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเป็นข้อมูลปกติของการจ้าง ประกอบกับสัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 4 ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ จึงเป็นข้อมูลที่เปิดเผยได้  มติคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร   ให้ยกคำคัดค้านของผู้อุทธรณ์ และให้หน่วยงานราชการนั้น เปิดเผยสัญญาจ้าง ดังกล่าวให้แก่ บริษัท  B ตามคำขอ
สรุปถามตอบ การเงินบัญชี                                                                       

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก