วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แนวข้อสอบ ชุดที่ 4 วิชาการศึกษา เรื่องการบริหารจัดการชั้นเรียน 120 ข้อ

แนวข้อสอบ ชุดที่ 4  วิชาการศึกษา เรื่องการบริหารจัดการในชั้นเรียน

ความหมายของการจัดการในชั้นเรียน
      การจัดการชั้นเรียน  มีความกว้างนับตั้งแต่การ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู การพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถเร้าความสนใจหรือกระตุ้นความสนใจพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ความหมายของการจัดการชั้นเรียน จึงมีความแตกต่างหลากหลายสรุปพอเป็นสังเขป ดังนี้
         เบอร์เดน ( Paul Burden,1999,p.3) ให้คำจำกัดความของการจัดชั้นเรียน ว่า เป็นยุทธศาสตร์และการปฎิบัติที่ครูใช้เพื่อคงสภาพความเป็นระเบียบเรียบร้อย
         โบรฟี (Jere Brophy,1996,p.5) ให้ความหมายการจัดการชั้นเรียนว่า หมายถึงการที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment) การสร้างกฎระเบียบและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการในชั้นเรียน
         ฮอล (Susan Colville-Hall,2004) ได้ให้ความหมาย การจัดการชั้นเรียนว่า เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขการเรียนรู้ การจัดชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การให้ผลย้อนกลับและการจัดการเกี่ยวกับการทำงานของนักเรียน ความพยายามของครูที่มีประสิทธิภาพนั้นหมายรวมถึง การที่ครูเป็นผุ้ดำเนินการเชิงรุก มีความรับผิดชอบ และเป็นผุ้สนับสนุน
         วีณา  นนทพันธาวาทย์ (2551) อธิบายไว้ สอดคล้องกับกับแนวคิดข้างต้นว่า การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบความคิดทั้งหลายทั้งหมดของครู การวางแผนการปฎิบัติงานของครูในการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีการวิจัยจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่า การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย การสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับกิจกรรมการเรียนการสอน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ Synergistic คือการรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนของครู
         สุรางค์  โคว์ตระกูล (2548,หน้า4) ได้อธิบายความหมายของการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิธิภาพ ว่า หมายถึง การสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน หรือหมายถึง กิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำ เพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
       สรุปได้ว่า  การจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทางด้านกายภาพ หรือการตกแต่งห้องเรียนการจัดด้วยวัสดุตกแต่ง เพื่อเป็นการจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจ เป็นการจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียน ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยคำนึงถึงความสะอาด ความปลอดภัย ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่นห้องเรียน ห้องน้ำหรือส้วม สนามเด็กเล่น บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ
     ความสำคัญของการจัดชั้นเรียน
       การจัดชั้นเรียนมีความสำคัญในระดับต้นๆ เพราะเป็นการดำเนินการต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และพัมนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางด้าน ร่างกาย สังคม และจิตใจ
     การจัดชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
       การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีสภาพน่าเรียน ถือเป็นความปราถนาของผู้สอนทุกคนที่ต้องการให้การดำเนินการจัดการเรียนรู้ดำเนินการอย่างมีความสุขและราบรื่น พรรณี ชูทัย (2552,หน้า261-263)ได้อธิบายบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน โดยจำแนก เป็น 6 ลักษณะ ดังนี้
       1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge)
       2. บรรยากาศที่มีอิสระ
       3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect)
       4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth)
       5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control)
       6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success)
 บรรยากาศในชั้นเรียนสามารถส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนของผู้เรียนและส่งผลสำเร็จต่อการสอนของผู้สอน ดังนั้นครูควรสร้างบรรยากาศ เพื่อ พัฒนาทั้งในด้าน  สติปัญญา จิตใจ และสังคม ซึ่งบรรยากาศชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ คือชั้นเรียนที่ดีควรมี สีสันที่น่าดู สบายดี อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ การจัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่อยู่ในชั้นเรียนให้อำนวยต่อการเรียนการสอนและกิจกรรมประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข มีอิสระเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง ใช้ประโยชน์ในชั้นเรียนอย่างคุ้มค่า มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง บรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
    หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
    ความสำคัญของการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน สรุปได้ ดังนี้
      1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจนเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
      2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัย เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผิ่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว
      3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่นมีแสงสว่างที่เหมาะสม ที่นั่งไม่ใกล้กระดานมากเกินไป ขนาด โต๊ะเก้าอี้ เหมาะแก่วัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา
      4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
      5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่นการฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน
      6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูเข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน 
ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน
       บรรยากาศในชั้นเรียนแบ่งออกเป้น 3 ประเภท คือบรรยากาศทางกายภาพ (Physical Atmosphere) บรรยากาศทางจิตวิทยา (Psychological Atmosphere) และบรรยากาศทางสังคม (Social Atmosphere)
       บรรยากาศทางด้านกายภาพ ได้แก่
          1. การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้
          2. การจัดโต๊ะครู
          3. การจัดป้านนิเทศไว้ที่ผนังห้องเรียน
          4  การจัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการประกอบกิจกรรมตามแนวทางการจัดประสบการณ์ 
          5. การจัดมุมหนังสือ  
          6. การจัดมุมบล๊อก เป็นมุมที่เด็กเล่นกับวัสดุรูปทรงต่างๆ
การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา
          การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา หรือทางด้านจิตใจ จะช่วยสร้างความรู้สึกให้นักเรียนและเกิดความสบายใจในการเรียน ปราศจากความกลัวและวิตกกังวล มีบรรยากาศการสร้างสรรค์และเร้าความสนใจ ให้เด็กร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความสุข ครูควรให้นักเรียนมีความรู้สึกเช่นนี้ได้ขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ
          ดังนั้น ครูพึงตระหนักความสำคัญ 4 ประการ  คือ
            1. บุคลิกภาพของครู
            2. พฤติกรรมการสอนของครู
การจัดบรรยากาศทางสังคม
       บรรยากาศ ทางสังคมเป็นบรรยากาศที่เกิดจากผลการปฎิสัมพันธ์ของกลุ่มนักเรียนและครูซึ่งอยู่ร่วมกันและทำกิจกรรมร่วมกัน
       ปฎิสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคล 2 คน หรือบุคคล 2 ฝ่ายโดยต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ลักษณะปฎิสัมพันธ์ในชั้นเรียนแบ่งออกเป็น  2  ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
           1. ปฎิสัมพันธ์ ระหว่าง ครู กับ นักเรียน
           2. ปฎิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน กับ นักเรียน
           3. การปฎิสัมพันธ์ทางบรรยากาศทางด้านสังคม 
     สรุปว่า การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ภายในชั้นเรียน ประกอบด้วย บรรยากาศทางกายภาพ บรรยากาศทางด้านจิตวิทยา บรรยากาศทางด้านสังคม ผู้สอนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบรรยากาศทั้งสามด้าน โดยปรับปรุงทั้งในส่วนที่เป็นตัวครู นักเรียน และการจัดชั้นเรียน รวมถึงเทคนิคการปกครองชั้นเรียนและการสร้างการปฎิสัมพันธ์ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
  เทคนิคการปกครองชั้นเรียน
     การปกครองชั้นเรียน   ควรยึดหลัก ดังนี้
           1. หลักประชาธิปไตย
           2. หลักความยุติธรรม
           3. หลักพรหมวิหาร 4
           4. หลักความใกล้ชิด
 รูปแบบการจัดชั้นเรียน
           1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา บทบาทของครูและนักเรียนเป็นแบบธรรมดา
           2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม เป็นชั้นเรียนที่เน้นผู้เรียนเป้นสำคัญ การจัดชั้นเรียนเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรม

คลิกดูแนวข้อสอบ >>> http://1drv.ms/1yZKeas   

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก