แนวข้อสอบ วิชาการศึกษา ชุดที่ 3 จิตวิทยาและการแนะแนวการศึกษา
แนวข้อสอบ วิชาการศึกษาชุดที่ 3 จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งพฤติกรรม หมายถึงการกระทำทุกอย่างของมนุษย์ทั้งที่เป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้ และพฤติกรรมที่สังเกตไม่ได้ ดังนั้นทางจิตวิทยาจึงแบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ ออกเป็น 2 ประเภท คือ พฤติกรรมภายใน และพฤติกรรมภายนอก พฤติกรรมทั้ง 2 ประเภทนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยพฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก ในขณะที่ผลของพฤติกรรมภายนอกมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ซึ่งเป็นพฤติกรรมภายใน
แนวข้อสอบชุดนี้ ผมได้สรุปโดยย่อจากความรู้เรื่องจิตวิทยา 3 เรื่องหลัก คือ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้ และ จิตวิทยาการแนะแนว
1. ความสำคัญของการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและ สติปัญญาในวัยต่างๆ
2. ความหมายของพัฒนาการและหลักพัฒนาการ
การงอกงามเป็นพื้นฐานของการพัฒนาการซึ่งจะนำไปสู่วุฒิภาวะ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจให้ง่ายขึ้น เราจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของคำต่อไปนี้
2.1 การงอกงาม (Growth) หมายถึง การเพิ่มขึ้นของขนาด รูปร่าง ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าว เราสามารถสังเกต และวัดได้ เช่นการชั่งน้ำหนัก การวัดส่วนสูง เป็นต้น เราสามารถสังเกตการงอกงามได้ชัดเจน จากน้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มมากขึ้น หรือลดลง
2.2 พัฒนาการ (Development) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายโดยอาศัยการเจริญเติบโตเป็นพื้นฐานและมีความสามารถใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปสู่วุฒิภาวะ
2.3 วุฒิภาวะ (Maturation) คือกระบวนการที่ทำให้อินทรีย์ บรรลุถึงขีดของการเจริญงอกงามเต็มที่ในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต และพร้อมจะประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) วุฒิภาวะทางกาย คือการเจริญเติบโตทางกาย จนบรรลุถึงจุดความพร้อมที่ร่างกายสามารถทำกิจกรรมใหม่ได้ตามวัย เช่นการกลับหัวของเด็กอ่อนในครรภ์มารดา การคลาน เป็นต้น
2) วุฒิภาวะทางจิตใจ จะเจริญควบคู่ไปกับวุฒิภาวะทางร่างกาย เป็นความเจริญงอกงามทางการใช้เหตผล ความรับผิดชอบ การควบคุมอารมณ์ และการรู้จักและยอมรับตนเองซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์
วุฒิภาวะกับการเรียนรู้ วุฒิภาวะมีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะและความสามารถต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้
1) พฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการฝึกฝน หรือได้รับการฝึกนเพียงเล็กน้อย
2) เมื่อพัฒนาการยังไม่ถึงวุฒิภาวะแล้ว การฝึกฝนต่างๆก็ไม่บังเกิดผล หรือได้เพียงเล็กน้อย
3) ความแตกต่างทางพันธุกรรมเป็นขีดจำกัดของวุฒิภาวะ ซึ่งจะทำให้การฝึกหัดไม่ได้ผล
3. พัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย ( ดูในรายละเอียด จากหนังสือจิตวิทยานะครับ)
4. ทฤษฎีพัฒนาการที่สำคัญ
ทฤษฎีพัฒนาการ คือ สาระความรู้ที่อธิบาย เกี่ยวกับขั้นตอนของธรรมชาติของพัฒนาการมนุษย์ตลอดช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งสาระความรู้ดังกล่าวนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับครู และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก เป็นประโยชน์ต่อการเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียนในแต่ละวัย ประการที่ 2 เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อให้เกิดการพัฒนาการที่สมบูรณ์ ไม่เกิดปัญหาในแต่ละขั้นพัฒนาการ ประการที่ 3 เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยว่าเด็กมีการพัฒนาการที่ปกติหรือไม่ หรือมีปัญหาพัฒนาการในขั้นใด เพื่อสามารถแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
4.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางเพศของฟรอยด์
ทฤษฎีพัฒนาการทางเพศ เป็นแนวความคิดของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย แนวคิดของฟรอยด์ ได้ให้ความสำคัญกับพัฒนาการในวัยเด็ก ซึ่งกระบวนการพัฒนาการทางเพศตามแนวคิดของฟรอยด์นั้น พัฒนามาจากความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีแรงขับ (drive) ซึ่งหมายถึง แรงหรือพลังงานของจิตใจที่สามารถกระตุ้นให้เกิดความเครียดและความตื่นตัวของจิตใจแล้ว ทำให้บุคคลต้องหาทางจัดการกับความเครียดดังกล่าว โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีตของแต่ละคน ซึ่งแรงขับดังกล่าวนี้มี 2 ประเภท คือแรงขับทางเพศ ( Sexual drive ) และแรงขับความก้าวร้าว ( aggressive drive ) แต่การอธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาทางเพศนั้น มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับแรงขับ ทางเพศ สุรางค์ โคว้ตระกูล (2554 หน้า 33 ) อธิบายแรงขับทางเพศว่า หมายถึงพลังที่ทำให้มนุษย์อยากมีชีวิตอยู่ อยากสร้างสรรค์ อยากมีความรัก มีความต้องการทางเพศ หรือกามารมณ์ เพื่อเป้าหมาย คือความสุข และความพึงพอใจ (pleasure) และการตอบสนองแรงขับทางเพศนี้ จะเกิดจากการกระตุ้นเร้าบริเวณของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก ซึ่งบริเวณร่างกายที่ไวต่อความรู้สึกนี้ จะเปลี่ยนไปตามระดับการพัฒนาการ คือเริ่มจากบริเวณปาก บริเวณทวารหนัก และอวัยวะสืบพันธ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
(รายละเอียด ดูได้จากหนังสือจิตวิทยา ผมจะกล่าวถึงเฉพาะหัวข้อ)
1. ขั้นปาก (Oral Stage ) คือ ช่วงแรกเกิดถึง 12 เดือน
2. ขั้นทวารหนัก (Anal stage) คือช่วง อายุ 18 เดือน ถึง 3 ปี
3. ขั้นอวัยวะเพศ (phallic Stage) พัฒนาการในขั้นนี้ คือช่วงอายุระหว่าง 3 ปี ถึง 5 ปี
4. ขั้นแฝง (latency Stage ) พัฒนาการในขั้นนี้ คือช่วงอายุ ระหว่าง 6 ปี ถึง 12 ปี
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (genital Stage ) พัฒนาการในขั้นนี้ คืออายุ ตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
4.2 ทฤษฎีพัฒนาการ จิตสังคม ของอิริคสัน
ขั้นพัฒนาการจิตสังคมของอิริคสัน มี 8 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ (basic trust vs mistrust) พัฒนาการในขั้นนี้ คือช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งถึง 1 ปี
2. ขั้นความเป็นตัวของตัวเอง-ความสงสัยไม่แน่ใจในตัวเอง ( autonomous vs shame and doubt ) เด็กในช่วงอายุตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี
3. ขั้นการเป็นผู้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด ( intiative vs guilt ) คือช่วงอายุตั้งแต่ 3 ปี ถึง 5 ปี
4. ขั้นความขยันหมั่นเพียร-ความรุ้สึกด้อย (industry vs inferiority) ช่วงอายุ 5ถึง 11 ปี
5. ขั้นการพบเอกลักษณ์-การสับสนในเอกลักษณ์ (identity vs identity diffusion) คือช่วงของวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 11 ปี ถึง 18 ปี
6. ขั้นความใกล้ชิดผูกพัน-ความโดดเดี่ยว (intimacy vs isolation ) คือช่วงของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 40 ปี
7. ขั้นการส่งเสริมผู้อื่น-การคิดถึงแต่ตนเอง (generatively vs stagnation ) คือช่วงวัยกลางคนอายุตั้งแต่ 40-65ปี
8. ขั้นความมั่นคงทางใจ-ความสิ้นหวัง (integrity vs despair ) คือช่วงวัยสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
4.3 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ญอง เพียเจต์ ( jean piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส เขาสนใจศึกษาพัฒนาการทางทางปัญญาของเด็ก โดยได้ศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาจากการศึกษาระยะยาวกับบุตร และเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพัมนาการทางปัญญา ที่ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางปัญญา ( cognitive structure)
กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางปัญญานั้น มี 2 กระบวนการที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดระบบ (Organization ) และ กระบวนการปรับ (adaptation ) ซึ่งสุรางค์ โคว้ตระกูล (2554,หน้า 48 ) ได้อธิบายกระบวนการ ทั้ง 2 กระบวนการไว้ ดังนี้
1. กระบวนการจัดระบบ
2. กระบวนการปรับ ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
2.1 การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation)
2.2 การปรับโครงสร้าง (Accommodation)
สรุปได้ว่า พัฒนาการทางปัญญาประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือกระบวนการจัดระบบ และกระบวนการปรับ ซึ่งกระบวนการทั้ง 2 กระบวนการนี้ จะเกิดขึ้นตั้งแต่ วัยทารกจนกระทั่งถึงวัยรุ่น ดังนั้น ทฤษฎีการพัมนาทางปัญญาของ เพียเจต์ จึงแบ่งขั้นการพัมนาการตามกระบวนการปรับเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างปัญญา ซึ่งสามารถสรุปขั้นพัฒนาการทางปัญญาของเพียเจต์ว่ามี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว (Sensory motor stage ) พัฒนาการขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 2 ปี
2. ขั้นก่อนการคิดแบบเหตุผล ( Preoperational Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 2-7 ปี
โดยสรุปแล้ว ลักษณะทางปัญญาของเด็กวัยนี้มักจะ กล่าวถึง 2 ประเด็น คือลักษณะสำคัญของการคิดและลักษณะข้อจำกัดของความสามารถทางการคิด ดังนี้
2.1 สาระสำคัญของการคิด เด็กในวัยนี้มีลักษณะสำคัญของการคิด ดังนี้
2.1.1 สามารถเลียนแบบได้โดยไม่ปรากฎตัวแบบในขณะนั้น เช่นเมื่อดูภาพยนต์จีนกำลังภายในจบแล้ว ิเด็กก็จะเล่นต่อสู้กำลังภายในกับเพื่อนเหมือนที่ดูในภาพยนต์
2.1.2 การเล่นสมมุติ เป็นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุ เช่น ใช้กล่องยาสีฟันแทนรถ
2.1.3 การวาดรูป เด็กวัยนี้จะวาดภาพตามความคิดมากกว่าการวาดภาพจากความจริงที่ปรากฎ เช่นเด็กวาดภาพ ต้นไม้แล้วระบายสีส้มแทนที่จะเป็นสีเขียว
2.1.4 การมีจินตภาพ เป็นการนึกภาพสิ่งใดสิ่งหนึ่งในใจ เด็กในวัยนี้อาจมีจินตภาพที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่เป็นจริง
2.1.5 ภาษาพูด เป็นการพัฒนาที่เด่นชัดที่สุด เด็กจะเริ่มใช้คำพูดแทนสิ่งต่างๆลักษณะการพูดของเด็กมี 2 ประเภท คือภาษาพูด แบบยึดตัวเอง เป็นลักษณะของภาษาที่ขาดการสื่อความหมายที่ชัดเจน เด็กจะพูดกับคนอื่นโดยไม่ใส่ใจว่าบุคคลอื่นจะเข้าใจหรือไม่ หรือโต้ตอบว่าอะไร และภาษาพูดแบบสื่อสังคม เป็นภาษาพูดที่สื่อความคิดระหว่างเด็กกับบุคคลอื่น เด็กมีความใส่ใจว่าบุคคลอื่นจะคิดอย่างไร และจะโต้ตอบอะไรกับคำพูดของเขา
2.2 ลักษณะข้อจำกัดของความสามารถทางความคิด
2.2.1 คิดโดยยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
2.2.2 การรับรู้เพียงมิติเดียว
2.2.3 การใส่ใจเฉพาะสภาวะที่ปรากฎ (states)
2.2.4 การคิดย้อนกลับไม่ได้ ( irreversibility)
3. ขั้นการคิดแบบเหตุผลเชิงรูปธรรม (Concreat operationl stage )
4. ขั้นการคิดแบบเหตุผลเชิงนามธรรม (Formal Operation stage )
4.3 ทฤษฎีพัฒนาการจริยธรรมของ โคลเบอร์ก
ลอเรนซ์ โคลเบอร์ก (Lawrence Kohlberg) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่สนใจเกี่ยวกับจริยธรรม และได้พัฒนาการจริยธรรม โดยมีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ของ เพียเจต์
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ (2547,หน้า 165-166) ได้สรุปไว้ ดังนี้
1. พัฒนาการจริยธรรมของแต่ละบุคคลจะผ่านไปตามลำดับขั้นพัฒนาการ โดยมีพื้นฐานจากการใช้เหตุผลเชิงตรรกศาสตร์ ตามการศึกษาของเพียเจต์
2. การรับรู้ทางสังคมและบทบาททางสังคม
3. บุคคลจะมีจริยธรรมขั้นสูง จะต้องสามารถใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และความสามารถในการรับรู้ทางสังคมในระดับสูงก่อน
จากแนวคิดพื้นฐาน 3 ประการ พอสรุปได้ว่า ทฤษฎีพัมนาการจริยธรรมของ โคลเบอร์ก และทฤษฎีพัฒนาการปัญญาของ เพียเจต์ มีความสัมพันธ์กัน
จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมอย่างค่อนข้างถาวร ภายหลังบุคคลได้รับประสบการณ์ หรือได้รับการฝึกหัด
2. ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้
2.1 การเรียนรู้เป็น กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2.2 การเรียนรู้เป็นผลจากการฝึกหัด และการได้ประสบการณ์
2.3 การเรียนรุ้เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
3. สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
3.1 ตัวผู้เรียน
3.2 บทเรียน หรือ ลักษณะงาน (Task Variables )
3.3 วิธีการเรียนการสอน (Method of Learning and Teaching )
3.4 ความสามารถในการถ่ายโยงความรู้ (Transfer of Learning )
3.5 องค์ประกอบจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างหรือขัดขวางการเรียนรู้
4. ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
4.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายใน ชื่อที่เรียกว่า สิ่งเร้า และการตอบสนอง ( S-R Theory ) หรือทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้ มองว่าการเรียนรู้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายนอกที่คนอื่นสังเกตได้ ประเมินได้ ซึ่งแยกเป็นทฤษฎีย่อย ได้ดังนี้
4.1.1 ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของ ธอร์นไดด์ (ค.ศ.1814-1949) เสนอวิธีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
4.1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไข มี 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิคของพาฟลอฟ และ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ ของสกินเนอร์
4.2 กลุ่มทฤษฎีความคิด-ความเข้าใจ (Cognitive Theory or Field Theory ) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่ากลุ่ม ปัญญานิยม หรือ กลุ่มพุทธิปัญญานิยม ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้มองการเรียนรู้ว่า เป็นผลของ กระบวนการทางปัญญา ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีของ เกสต้อล (Gestalt Theory) เสออวิธีการเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (Insightfullearning) ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา (intellectual Developmemt ) ของเพียเจต์และบูรเนอร์ ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ของ ไวก็อสกี
4.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาสังคม (social Cognitive Theory ) ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาสังคมของ เป็นผลการศึกษาของ อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandury)
4.1 ทฤษฎีการเรียนรุ้ กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
4.1.1 ทฤษฎีความสัมพันธ์ ต่อเนื่อง ของ Edward Lee Thondike เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน กล่าวถึงความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connection) ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองที่ได้รับความพึงพอใจตามมา
สรุปหลักเกณฑ์ที่่ได้จาการทดลอง เขาตั้งกฎการเรียนรู้ 3 ข้อ ดังนี้
1. กฎของความพร้อม (Law of Readiness)
2. กฎของการฝึกหัด (Law of Exercise )
3. กฎแห่งการกระทำ (Law of effect )
4.1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ( Classical Conditioning Theory )
พาฟลอฟ เป็นนักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย เป็นผู้ค้นพบหลักการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไขแบบ คลาสสิคจากการทดลองเกี่ยวกับการหลั่งน้ำลายสุนัข พลาฟลอฟเชื่อว่ากระบวนการที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้นั้น เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนองที่เป็นปฎิกิริยาสะท้อนอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ ไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ เช่นเคาะที่หัวเข่ากระตุก
การทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก โดยการทดลองของ พาฟลอฟแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะก่อนการวางเงื่อนไข
ระยะที่ 2 ระยะการวางเงื่อนไข
ระยะที่ 3 ระยะหลังการวางเงื่อนไข
4.1.3 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำเอง (Operant Conditioning Theory)
บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เขาได้อธิบายเทคนิคของการวางเงื่อนไขแบบแสดงการกระทำ สกินเนอร์ จำแนกพฤติกรรมออกเป็น 2 ลักษณะ
1. พฤติกรรมที่ถูกเร้าให้กระทำ (Resspondent Behavior ) คือพฤติกรรมมี่ถูกควบคุมโดยสิ่งเร้าโดยตรง
2. พฤติกรรมแบบลงมือกระทำเอง (Operant Behavior ) เป็นพฤติกรรมอินทรีย์จงใจกระทำต่อสิ่งเร้า เพื่อที่จะได้รับบางสิ่งที่พึงปราถนาหรือเพื่อหลีกเลี่ยงบางสิ่งที่ตนไม่ปราถนา
การเสริมแรงและตัวเสริมแรง การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากผลของพฤติกรรมนั้นและผลของพฤติกรรมนั้นเราเรียกว่า ตัวเสริมแรง
สิ่งเร้าใดก็ตามเมื่อได้รับแล้วทำให้อินทรีย์เกิดความพึงพอใจ สิ่งเร้านั้นเรียกว่า ตัวเสริมแรงบวก (Positive Rein forcer ) และสิ่งเร้าใดก็ตามเมื่อถุกเอาออกไปแล้วทำให้อินทรีย์เกิดความพึงพอใจ สิ่งเร้านั้นเรียกว่าตัวเสริมแรงลบ (Negative rein forcer )
ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ หมายถึง เป็นสิ่งเร้าที่มีอำนาจการเสริมแรงด้วยตัวมันเอง โดยตรง เช่น อาหาร น้ำและเพศ โดยสิ่งเร้าเหล่านี้สามารถลดความต้องการของอินทรีย์ได้โดยตรง
ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ หมายถึง ตัวเสริมแรงที่ถูกวางเงื่อนไขให้เกิดการเรียนรู้ โดยนำมาเชื่อมโยงกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิแล้วจะมีผลให้มันมีคุณค่าเหมือนตัวเสริมแรงปฐมภูมิเช่น แสงไฟ
การแนะแนวและการให้คำปรึกษา
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้บุคคล สามารถช่วยตนเองและพัฒนาตนเองไปถึงขีดสูงสุดของความสามารถที่เขามีอยู่เพื่อให้เขาสามารถนำตนเองได้ ตัดสินใจเองได้ และสามารถปรับตัวเองได้อย่างมีความสุข มีความเจริญก้าวหน้า ได้พัฒนาตนเองใหถึงขีดสูงสุดในทุกด้าน รวมทั้งสามารถป้องกันปัญหา แก้ปัญหา รวมทั้งสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
ความมุ่งหมายของการแนะแนว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความมุ่งหมายโดยทั่วไป หมายถึง หน้าที่ของการแนะแนวทั่วไป มี 3 ประเภท
2. ความมุ่งหมายเฉพาะ หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนะแนวแต่ละสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดขึ้นมาซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งก็ย่อมมีจุดมุ่งหมายเฉพาะที่คล้ายคลึงกัน มี 5 ประเภท
ขอบข่ายของการแนะแนว จำแนกได้ 3 ประการ คือ
1. การแนะแนวการศึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องเกี่ยวกับ การศึกษาเช่น แนวทางการศึกษาต่อ แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน การเลือกโปรแกรมการเรียน การลงทะเบียนหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดประเมินผลของโรงเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประโยชน์ของการแนะแนว มี 5 ข้อ
2. การแนะแนวอาชีพ เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ช่วยนักเรียน ตั้งแต่การรู้จักอาชีพ การเตรียมตัวสามารถวางแผนและตัดสินใจเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดของตนเอง การลงมือประกอบอาชีพ การปรับตัวเข้ากับอาชีพ ตลอดถึงสามารถพัฒนาอาชีพยังเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาตามวัยของเด็ก แบ่งออกเป็น 5 ช่วงวัย
3. การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม เป้นกระบวนการให้ความช่วยเหลือบุคคลให้เกิดความเข้าใจตนเองและสภาพแวดล้อม เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต มารยาททางสังคม การคบเพื่อนต่างเพศและ เพื่อนเพศเดียวกัน การใช้เวลาว่าง การควบคุมอารมณ์ มนุษย์สัมพันธ์ จริยธรรมำให้ความสามารถปรับตัวมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
หลักการการแนะแนว พอสรุปได้ 10 ข้อ
เนื้อแท้ของการแนะแนว ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. บริการของงานแนะแนว มี 5 บริการทุกบริการมีความสำคัญเท่ากันหมด
1.1 บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
1.2 การบรการสารสนเทศ (Inforation Service )
1.3 บริการให้คำปรึกษา (Counselling Service )
1.4 บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service )
1.5 บริการติดตามผล (Follow-up Service)
ดร. จีน แบรี่ (2540 ) ได้เสนอกระบวนการให้คำปรึกษาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1. การสร้างสัมพันธภาพ (Rapport)
2. การสำรวจปัญหา
3. การทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุและความต้องการ
4. การวางแผนแก้ปัญหา
5. การยุติปัญหา
แนวข้อสอบ ชุดที่3 วิชาการศึกษา เรื่องจิตวิทยาและแนะแนวการศึกษา จำนวน 120 ข้อ คลิก >>> http://1drv.ms/1yC0dwp
ขั้นพัฒนาการจิตสังคมของอิริคสัน มี 8 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ (basic trust vs mistrust) พัฒนาการในขั้นนี้ คือช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งถึง 1 ปี
2. ขั้นความเป็นตัวของตัวเอง-ความสงสัยไม่แน่ใจในตัวเอง ( autonomous vs shame and doubt ) เด็กในช่วงอายุตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี
3. ขั้นการเป็นผู้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด ( intiative vs guilt ) คือช่วงอายุตั้งแต่ 3 ปี ถึง 5 ปี
4. ขั้นความขยันหมั่นเพียร-ความรุ้สึกด้อย (industry vs inferiority) ช่วงอายุ 5ถึง 11 ปี
5. ขั้นการพบเอกลักษณ์-การสับสนในเอกลักษณ์ (identity vs identity diffusion) คือช่วงของวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 11 ปี ถึง 18 ปี
6. ขั้นความใกล้ชิดผูกพัน-ความโดดเดี่ยว (intimacy vs isolation ) คือช่วงของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 40 ปี
7. ขั้นการส่งเสริมผู้อื่น-การคิดถึงแต่ตนเอง (generatively vs stagnation ) คือช่วงวัยกลางคนอายุตั้งแต่ 40-65ปี
8. ขั้นความมั่นคงทางใจ-ความสิ้นหวัง (integrity vs despair ) คือช่วงวัยสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
4.3 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ญอง เพียเจต์ ( jean piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส เขาสนใจศึกษาพัฒนาการทางทางปัญญาของเด็ก โดยได้ศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาจากการศึกษาระยะยาวกับบุตร และเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพัมนาการทางปัญญา ที่ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางปัญญา ( cognitive structure)
กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางปัญญานั้น มี 2 กระบวนการที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดระบบ (Organization ) และ กระบวนการปรับ (adaptation ) ซึ่งสุรางค์ โคว้ตระกูล (2554,หน้า 48 ) ได้อธิบายกระบวนการ ทั้ง 2 กระบวนการไว้ ดังนี้
1. กระบวนการจัดระบบ
2. กระบวนการปรับ ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
2.1 การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation)
2.2 การปรับโครงสร้าง (Accommodation)
สรุปได้ว่า พัฒนาการทางปัญญาประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือกระบวนการจัดระบบ และกระบวนการปรับ ซึ่งกระบวนการทั้ง 2 กระบวนการนี้ จะเกิดขึ้นตั้งแต่ วัยทารกจนกระทั่งถึงวัยรุ่น ดังนั้น ทฤษฎีการพัมนาทางปัญญาของ เพียเจต์ จึงแบ่งขั้นการพัมนาการตามกระบวนการปรับเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างปัญญา ซึ่งสามารถสรุปขั้นพัฒนาการทางปัญญาของเพียเจต์ว่ามี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว (Sensory motor stage ) พัฒนาการขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 2 ปี
2. ขั้นก่อนการคิดแบบเหตุผล ( Preoperational Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 2-7 ปี
โดยสรุปแล้ว ลักษณะทางปัญญาของเด็กวัยนี้มักจะ กล่าวถึง 2 ประเด็น คือลักษณะสำคัญของการคิดและลักษณะข้อจำกัดของความสามารถทางการคิด ดังนี้
2.1 สาระสำคัญของการคิด เด็กในวัยนี้มีลักษณะสำคัญของการคิด ดังนี้
2.1.1 สามารถเลียนแบบได้โดยไม่ปรากฎตัวแบบในขณะนั้น เช่นเมื่อดูภาพยนต์จีนกำลังภายในจบแล้ว ิเด็กก็จะเล่นต่อสู้กำลังภายในกับเพื่อนเหมือนที่ดูในภาพยนต์
2.1.2 การเล่นสมมุติ เป็นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุ เช่น ใช้กล่องยาสีฟันแทนรถ
2.1.3 การวาดรูป เด็กวัยนี้จะวาดภาพตามความคิดมากกว่าการวาดภาพจากความจริงที่ปรากฎ เช่นเด็กวาดภาพ ต้นไม้แล้วระบายสีส้มแทนที่จะเป็นสีเขียว
2.1.4 การมีจินตภาพ เป็นการนึกภาพสิ่งใดสิ่งหนึ่งในใจ เด็กในวัยนี้อาจมีจินตภาพที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่เป็นจริง
2.1.5 ภาษาพูด เป็นการพัฒนาที่เด่นชัดที่สุด เด็กจะเริ่มใช้คำพูดแทนสิ่งต่างๆลักษณะการพูดของเด็กมี 2 ประเภท คือภาษาพูด แบบยึดตัวเอง เป็นลักษณะของภาษาที่ขาดการสื่อความหมายที่ชัดเจน เด็กจะพูดกับคนอื่นโดยไม่ใส่ใจว่าบุคคลอื่นจะเข้าใจหรือไม่ หรือโต้ตอบว่าอะไร และภาษาพูดแบบสื่อสังคม เป็นภาษาพูดที่สื่อความคิดระหว่างเด็กกับบุคคลอื่น เด็กมีความใส่ใจว่าบุคคลอื่นจะคิดอย่างไร และจะโต้ตอบอะไรกับคำพูดของเขา
2.2 ลักษณะข้อจำกัดของความสามารถทางความคิด
2.2.1 คิดโดยยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
2.2.2 การรับรู้เพียงมิติเดียว
2.2.3 การใส่ใจเฉพาะสภาวะที่ปรากฎ (states)
2.2.4 การคิดย้อนกลับไม่ได้ ( irreversibility)
3. ขั้นการคิดแบบเหตุผลเชิงรูปธรรม (Concreat operationl stage )
4. ขั้นการคิดแบบเหตุผลเชิงนามธรรม (Formal Operation stage )
4.3 ทฤษฎีพัฒนาการจริยธรรมของ โคลเบอร์ก
ลอเรนซ์ โคลเบอร์ก (Lawrence Kohlberg) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่สนใจเกี่ยวกับจริยธรรม และได้พัฒนาการจริยธรรม โดยมีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ของ เพียเจต์
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ (2547,หน้า 165-166) ได้สรุปไว้ ดังนี้
1. พัฒนาการจริยธรรมของแต่ละบุคคลจะผ่านไปตามลำดับขั้นพัฒนาการ โดยมีพื้นฐานจากการใช้เหตุผลเชิงตรรกศาสตร์ ตามการศึกษาของเพียเจต์
2. การรับรู้ทางสังคมและบทบาททางสังคม
3. บุคคลจะมีจริยธรรมขั้นสูง จะต้องสามารถใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และความสามารถในการรับรู้ทางสังคมในระดับสูงก่อน
จากแนวคิดพื้นฐาน 3 ประการ พอสรุปได้ว่า ทฤษฎีพัมนาการจริยธรรมของ โคลเบอร์ก และทฤษฎีพัฒนาการปัญญาของ เพียเจต์ มีความสัมพันธ์กัน
จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมอย่างค่อนข้างถาวร ภายหลังบุคคลได้รับประสบการณ์ หรือได้รับการฝึกหัด
2. ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้
2.1 การเรียนรู้เป็น กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2.2 การเรียนรู้เป็นผลจากการฝึกหัด และการได้ประสบการณ์
2.3 การเรียนรุ้เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
3. สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
3.1 ตัวผู้เรียน
3.2 บทเรียน หรือ ลักษณะงาน (Task Variables )
3.3 วิธีการเรียนการสอน (Method of Learning and Teaching )
3.4 ความสามารถในการถ่ายโยงความรู้ (Transfer of Learning )
3.5 องค์ประกอบจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างหรือขัดขวางการเรียนรู้
4. ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
4.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายใน ชื่อที่เรียกว่า สิ่งเร้า และการตอบสนอง ( S-R Theory ) หรือทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้ มองว่าการเรียนรู้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายนอกที่คนอื่นสังเกตได้ ประเมินได้ ซึ่งแยกเป็นทฤษฎีย่อย ได้ดังนี้
4.1.1 ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของ ธอร์นไดด์ (ค.ศ.1814-1949) เสนอวิธีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
4.1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไข มี 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไข แบบคลาสสิคของพาฟลอฟ และ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ ของสกินเนอร์
4.2 กลุ่มทฤษฎีความคิด-ความเข้าใจ (Cognitive Theory or Field Theory ) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่ากลุ่ม ปัญญานิยม หรือ กลุ่มพุทธิปัญญานิยม ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้มองการเรียนรู้ว่า เป็นผลของ กระบวนการทางปัญญา ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีของ เกสต้อล (Gestalt Theory) เสออวิธีการเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (Insightfullearning) ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา (intellectual Developmemt ) ของเพียเจต์และบูรเนอร์ ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ของ ไวก็อสกี
4.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาสังคม (social Cognitive Theory ) ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาสังคมของ เป็นผลการศึกษาของ อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandury)
4.1 ทฤษฎีการเรียนรุ้ กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
4.1.1 ทฤษฎีความสัมพันธ์ ต่อเนื่อง ของ Edward Lee Thondike เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน กล่าวถึงความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connection) ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองที่ได้รับความพึงพอใจตามมา
สรุปหลักเกณฑ์ที่่ได้จาการทดลอง เขาตั้งกฎการเรียนรู้ 3 ข้อ ดังนี้
1. กฎของความพร้อม (Law of Readiness)
2. กฎของการฝึกหัด (Law of Exercise )
3. กฎแห่งการกระทำ (Law of effect )
4.1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ( Classical Conditioning Theory )
พาฟลอฟ เป็นนักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย เป็นผู้ค้นพบหลักการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไขแบบ คลาสสิคจากการทดลองเกี่ยวกับการหลั่งน้ำลายสุนัข พลาฟลอฟเชื่อว่ากระบวนการที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้นั้น เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนองที่เป็นปฎิกิริยาสะท้อนอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ ไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ เช่นเคาะที่หัวเข่ากระตุก
การทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก โดยการทดลองของ พาฟลอฟแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะก่อนการวางเงื่อนไข
ระยะที่ 2 ระยะการวางเงื่อนไข
ระยะที่ 3 ระยะหลังการวางเงื่อนไข
4.1.3 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำเอง (Operant Conditioning Theory)
บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เขาได้อธิบายเทคนิคของการวางเงื่อนไขแบบแสดงการกระทำ สกินเนอร์ จำแนกพฤติกรรมออกเป็น 2 ลักษณะ
1. พฤติกรรมที่ถูกเร้าให้กระทำ (Resspondent Behavior ) คือพฤติกรรมมี่ถูกควบคุมโดยสิ่งเร้าโดยตรง
2. พฤติกรรมแบบลงมือกระทำเอง (Operant Behavior ) เป็นพฤติกรรมอินทรีย์จงใจกระทำต่อสิ่งเร้า เพื่อที่จะได้รับบางสิ่งที่พึงปราถนาหรือเพื่อหลีกเลี่ยงบางสิ่งที่ตนไม่ปราถนา
การเสริมแรงและตัวเสริมแรง การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากผลของพฤติกรรมนั้นและผลของพฤติกรรมนั้นเราเรียกว่า ตัวเสริมแรง
สิ่งเร้าใดก็ตามเมื่อได้รับแล้วทำให้อินทรีย์เกิดความพึงพอใจ สิ่งเร้านั้นเรียกว่า ตัวเสริมแรงบวก (Positive Rein forcer ) และสิ่งเร้าใดก็ตามเมื่อถุกเอาออกไปแล้วทำให้อินทรีย์เกิดความพึงพอใจ สิ่งเร้านั้นเรียกว่าตัวเสริมแรงลบ (Negative rein forcer )
ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ หมายถึง เป็นสิ่งเร้าที่มีอำนาจการเสริมแรงด้วยตัวมันเอง โดยตรง เช่น อาหาร น้ำและเพศ โดยสิ่งเร้าเหล่านี้สามารถลดความต้องการของอินทรีย์ได้โดยตรง
ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ หมายถึง ตัวเสริมแรงที่ถูกวางเงื่อนไขให้เกิดการเรียนรู้ โดยนำมาเชื่อมโยงกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิแล้วจะมีผลให้มันมีคุณค่าเหมือนตัวเสริมแรงปฐมภูมิเช่น แสงไฟ
การแนะแนวและการให้คำปรึกษา
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้บุคคล สามารถช่วยตนเองและพัฒนาตนเองไปถึงขีดสูงสุดของความสามารถที่เขามีอยู่เพื่อให้เขาสามารถนำตนเองได้ ตัดสินใจเองได้ และสามารถปรับตัวเองได้อย่างมีความสุข มีความเจริญก้าวหน้า ได้พัฒนาตนเองใหถึงขีดสูงสุดในทุกด้าน รวมทั้งสามารถป้องกันปัญหา แก้ปัญหา รวมทั้งสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
ความมุ่งหมายของการแนะแนว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความมุ่งหมายโดยทั่วไป หมายถึง หน้าที่ของการแนะแนวทั่วไป มี 3 ประเภท
2. ความมุ่งหมายเฉพาะ หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนะแนวแต่ละสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดขึ้นมาซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งก็ย่อมมีจุดมุ่งหมายเฉพาะที่คล้ายคลึงกัน มี 5 ประเภท
ขอบข่ายของการแนะแนว จำแนกได้ 3 ประการ คือ
1. การแนะแนวการศึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องเกี่ยวกับ การศึกษาเช่น แนวทางการศึกษาต่อ แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน การเลือกโปรแกรมการเรียน การลงทะเบียนหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดประเมินผลของโรงเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประโยชน์ของการแนะแนว มี 5 ข้อ
2. การแนะแนวอาชีพ เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ช่วยนักเรียน ตั้งแต่การรู้จักอาชีพ การเตรียมตัวสามารถวางแผนและตัดสินใจเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดของตนเอง การลงมือประกอบอาชีพ การปรับตัวเข้ากับอาชีพ ตลอดถึงสามารถพัฒนาอาชีพยังเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาตามวัยของเด็ก แบ่งออกเป็น 5 ช่วงวัย
3. การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม เป้นกระบวนการให้ความช่วยเหลือบุคคลให้เกิดความเข้าใจตนเองและสภาพแวดล้อม เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต มารยาททางสังคม การคบเพื่อนต่างเพศและ เพื่อนเพศเดียวกัน การใช้เวลาว่าง การควบคุมอารมณ์ มนุษย์สัมพันธ์ จริยธรรมำให้ความสามารถปรับตัวมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
หลักการการแนะแนว พอสรุปได้ 10 ข้อ
เนื้อแท้ของการแนะแนว ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. บริการของงานแนะแนว มี 5 บริการทุกบริการมีความสำคัญเท่ากันหมด
1.1 บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
1.2 การบรการสารสนเทศ (Inforation Service )
1.3 บริการให้คำปรึกษา (Counselling Service )
1.4 บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service )
1.5 บริการติดตามผล (Follow-up Service)
ดร. จีน แบรี่ (2540 ) ได้เสนอกระบวนการให้คำปรึกษาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1. การสร้างสัมพันธภาพ (Rapport)
2. การสำรวจปัญหา
3. การทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุและความต้องการ
4. การวางแผนแก้ปัญหา
5. การยุติปัญหา
แนวข้อสอบ ชุดที่3 วิชาการศึกษา เรื่องจิตวิทยาและแนะแนวการศึกษา จำนวน 120 ข้อ คลิก >>> http://1drv.ms/1yC0dwp
1 ความคิดเห็น:
โหลดไม่ได้แล้วครับ อยากได้แนวข้อสอบ e29sky.th@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก