แนวข้อสอบ ภาค ข วิชาเฉพาะตำแหน่ง วิชาการศึกษา
แนวข้อสอบ ภาค ข ความรุู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
1. ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษา ( คะแนนเต็ม 75 คะแนน ) ให้ทดสอบโดยวิธีสอบข้อเขียนในเรื่องต่อไปนี้1.1 หลักสุตรและการพัฒนาหลักสุตร 1.2 การจัดการเรียนรุ้ 1.3 จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว 1.4 การพัฒนาผู้เรียน 1.5 การบริหารจัดการชั้นเรียน 1.6 การวิจัยการศึกษา 1.7 สื่อ นวัตกรมและเทคโนโลยีการศึกษา 1.8 การวัดและประเมินผลการศึกษา
ผมจะ comment เนื้อหาที่สำคัญ และให้แนวข้อสอบแต่ละชุดๆละ 120 ข้อพร้อมเฉลยครับ
1.1 หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร หลักสูตร หมายถึงหลักสูตรแม่บท คือหลักสุตรที่กระทรวงศึกษาธการกำหนดขึ้น เสมือนเป็นแม่บทหรือธรรมมนูญการศึกษา หลักสูตรแม่บท ประกอบด้วยหัวข้อสำคัย 6 ข้อคือ 1) เป้าหมายการศึกษา 2) นโยบายและหลักการจัดการศึกษาของชาติแต่ละระดับ 3) โครงสร้างหลักสูตร 4) เนื้อหาวิชาต่างๆ ที่จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดหมาย 5) เวลาเรียน ได้แก่ จำนวนปีที่ต้องเรียน เวลาเรียนแต่ละปีและเวลาเรียนแต่ละกลุ่มวิชาในแต่ละสัปดาห์ 6) ข้อกำหนดอื่นๆเกี่ยวกับการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียน
1.2 องค์ประกอบของหลักสูตร
หลักสูตรมีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 องค์ประกอบ คือ
1. จุดประสงค์ 2. สาระความรู้และประสบการณ์ 3. กระบวนการเรียนการสอน 4. การประเมินผล หมายเหต ในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนจะต้องพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐานทั้ง 4 ตามลำดับ
1.3 ระดับของหลักสูตร มี 4 ระดับ เช่น ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับสถานสึกษา ระดับห้องเรียน
1.4 พื้นฐานของหลักสูตร พื้นฐานที่สำคัญในการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตร มี 5 ด้านคือ
1) พื้นฐานจากปรัชญา 2) พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ 3) พื้นฐานจากวิชาความรู้ต่างๆ 4) พื้นฐานจากสังคม 5) พื้นฐานจากจิตวิทยา
1.5 รูปแบบของหลักสูุตร แบ่งออกได้ เป็น 7 รูปแบบ ดังนี้ 1) หลักสูตรรายวิชา 2)หลักสูตรสหสัมพันธื 3) หลักสูตรผสมผสาน 4) หลักสูตรหมวดวิชา 5) หลักสูตรวิชาแกน 5) หลักสูตรวิชาแกน 6) หลักสูตรที่เน้นทักษะกระบวนการ 7) หลักสูตรประสบการณ์
1.6 ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร ในการศึกษารูปแบบหรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำมีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ เช่น
Curriculum Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร
Curriculum Development ความหมายเหมือนกับ Curricurum Planning
Curricurum Improvement หมายถึง การปรับปรุงหรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่จะหมายถึง กระบวนการในการวางแผนและพัมนาหลักสูตร
1.7 ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร แนะนำให้ไปดูทฤษฎี ของนักวิชาการศึกษา ดังนี้
- ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร ของ ไทเลอร์ และ ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ ทาบา
1.8 รูปแบบการประเมิน อาจจำแนกการประเมินหลักสูตรเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) การประเมินตนเอง ( Self Evaluation) หมายถึง ทำการประเมินโดยบุคคลที่สร้างหลักสูตร ออกแบบหลักสูตร ทดลองหลักสูตร หรือใช้หลักสูตรนั้น (ผู้สอน) ตัวอย่าง เช่น คณะอาจารยืและบุคลากรในมหาวิทยาลัยประเมินหลักสูตรปริญญาตรีของ
2) การประเมินภายนอก หมายถึงการประเมินโดนบุคคลที่มิได้ร่วมในการสร้างหลักสูตร ออกแบบหลักสูตร ทดลองหลักสูตร หรือใช้หลักสูตรนั้น การประเมินจากภายนอกจะมีความเป็นปรนัย อาจได้ความจริงมากกว่า แต่ทั้งนี้จะต้องรู้จุดมุ่งหมายและเข้าใจสภาวการณ์ของหน่วยงานที่เป็นผู้ใช้หลักสูตร
1.9 การประเมินหลักสูตร จะต้องประเมินทั้ง 3 ด้าน คือ
- ตัวป้อน (Antecedent) คือสภาวะที่มีมาก่อนการเรียนการสอนซึ่งอาจเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผลที่เกิดขึ้นหรือ ผลผลิต (Outcome) ได้แก่ ด้านนักเรียน ครู เนื้อหาสาระบทเรียน วัสดุอุปกรณ์ บริเวณโรงเรียน รุปแบบการจัดโรงเรียน ชุมชน
- กระบวนการ (Transaction) คือปฎิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู นักเรียนกับนักเรียน ผู้เขียนกับผู้อ่าน ผู้ปกครองกับผุ้แนะแนว นอกจากนี้ยังหมายถึงลำดับกิจกรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นกระบวนการของการศึกษา เช่นการให้ชมภาพยนตื การอภิปรายกลุ่ม การทำการบ้าน การเขียนวิจารร์ที่ปกรายงาน การดำเนินการสอนฯลฯ
- ผลผลิต (Outcome) คือผลจากการสอน ได้แก่ ผลที่เกิดกับนักเรียน เช่น 1)ความสามารถ ผลสัมฤทธิ์ ทักษะ เจตคติที่มีต่อวิชาการเรียน 2) ผลกระทบที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่นผลกระทบที่มีต่อครู ผู้บริหาร ผู้แนะแนว ฯลฯ 3) ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในการเรียน 4) ความสูญเสียของอุปกรณ์ต่างๆ 5) ค่าใช้จ่าย
****ข้อมูลที่ต้องดูเพิ่มเติม ของ หัวข้อนี้ คือ 1) แนวคิดนักการศึกษา 2) แนวคิดนักปรัชญาการศึกษา 3)รายละเอียดหลักสุตรอาชีวศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษาของอาชีวศึกษา
ข้อสอบชุดนี้ มี 120 ข้อ พร้อมเฉลย
https://onedrive.live.com/redir?resid=DB3D6D176007CA04!108&authkey=!APTCZsJIz8gsr08&ithint=folder%2cpdf
1 ความคิดเห็น:
ขอข้อสอบชุดอื่นด้วยได้มั้ยคะ
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก