วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แนวข้อสอบถามตอบงานสารบรรณธุรการ สำหรับเตรียมสอบของ สอศ.


สรุปเกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
ถาม-ตอบ
. ถาม คำว่า  หนังสือราชการ ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณพ.. ๒๕๒๖ มีความหมายอย่างไรหนังสือที่โรงเรียนเอกชนหรือเอกชนทำขึ้นถือว่าเป็นหนังสือราชการด้วยหรือไม่
ตอบคำว่า หนังสือราชการ ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.. ๒๕๒๖ คือเอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่
. หนังสือที่มีระหว่างส่วนราชการ
. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
๔. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้น เพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
๕. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ สำหรับหนังสือที่โรงเรียนเอกชนหรือเอกชนทำขึ้น เพื่อมาถึงส่วนราชการ เมื่อส่วนราชการรับหนังสือนั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วก็ถือว่าหนังสือนั้นเป็นหนังสือราชการตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณได้
หนังสือราชการตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ มี ๖ ชนิด คือ
. หนังสือภายนอก
. หนังสือภายใน
. หนังสือประทับตรา
. หนังสือสั่งการ
. หนังสือประชาสัมพันธ์
. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
. ถาม หนังสือภายนอกกับภายใน มีข้อแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีการมากกว่าหนังสือภายในโดยใช้กระดาษตราครุฑ  เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่มีถึงบุคคลภายนอก
หนังสือภายในคือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
ข้อแตกต่างของหนังสือภายนอกกับหนังสือภายใน คือ
. หนังสือภายนอกใช้กระดาษตราครุฑแต่หนังสือภายในใช้กระดาษบันทึกข้อความ
. หนังสือภายนอกเป็นหนังสือที่เป็นแบบพิธีการมากกว่าหนังสือภายในกล่าวคือ ตามแบบ หนังสือภายนอกอ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย คำลงท้ายส่วนราชการเจ้าของเรื่อง  และ   เลขหมายโทรศัพท์  แต่ตามแบบหนังสือภายในไม่ต้องมีรายการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้แสดงไว้ในรูปแบบ
. การติดต่อกับ บุคคลภายนอก ตามระเบียบกำหนดให้ใช้ หนังสือภายนอกสาหรับหนังสือภายใน ไม่ได้กำหนดให้ใช้กับบุคคลภายนอก
. หนังสือภายใน เป็นหนังสือติดต่อภายใน กระทรวง ทบวง  กรม หรือจังหวัดเดียวกันเท่านั้น แต่หนังสือภายนอกสามารถใช้ติดต่อทั้งในและนอกกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัด
. ถาม ในกรมจังหวัดเดียวกัน จะใช้เฉพาะหนังสือภายในอย่างเดียวได้หรือไม่
ตอบ ในกรมหรือจังหวัดเดียวกัน ส่วนราชการใดจะใช้หนังสือภายนอกหรือหนังสือภายในขึ้นอยู่กับดุลพินิจของส่วนราชการนั้นๆ ว่า  เป็นการทำหนังสือที่ต้องใช้แบบมีพิธีการมากหรือน้อยเป็นประการสำคัญ ถ้าพิจารณาเห็นว่าหนังสือราชการฉบับนั้น จะต้องแสดงรายการอ้างอิง     ถึงสิ่งที่ส่งมาด้วย คำลงท้าย ส่วนราชการของเรื่องและเลขหมายโทรศัพท์ ด้วย   ซึ่งถือว่ามีพิธีการมากก็ควรทำเป็นหนังสือภายนอกจะสะดวกและเหมาะสมกว่าทำเป็นหนังสือภายใน
ตัวอย่างที่ ๑ การทำหนังสือภายนอก เช่น ส่วนราชการจังหวัดทำหนังสือถึงอำเภอในจังหวัดเดียวกัน แจ้งเรื่องโครงการประชุมอบรมว่าด้วยงานสารบรรณ โดยส่งโครงการ ตารางการประชุมและแบบสำรวจรายชื่อผู้เข้าประชุมอบรมไปด้วยเช่นกัน     ควรเป็นหนังสือภายนอกจะสะดวกและเหมาะสมกว่าและเมื่ออำเภอตอบหนังสือฉบับนี้ ก็ควรทำเป็นหนังสือภายนอกเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างที่ ๒  การทำหนังสือภายใน เช่น ส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีราชการพิเศษเกี่ยวกับงานวิชาการ   โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องการพบพบผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัดนนทบุรี   เพื่อปรึกษาหารือ อาจทำหนังสือภายในเชิญผู้อำนวยการสถานศึกษานั้นมาพบย่อมได้ เพราะหนังสือฉบับนี้ไม่เป็นแบบพิธีมากแต่อย่างใด
ตัวอย่างที่ ๓ ส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด มีหนังสือถึงบุคคลภายนอกในจังหวัดเดียวกันตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ ต้องทำเป็นหนังสือภายนอก จะทำเป็นหนังสือภายในไม่ได้(ตามระเบียบ ข้อ ๑๑)
      จากตัวอย่างที่ยกมาให้ทราบนี้ จะเห็นได้ว่าในกรมหรือจังหวัดเดียวกัน จะใช้หนังสือภายในอย่างเดียวย่อมไม่ได้ เพราะตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณให้ทำได้ทั้งหนังสือภายนอกและหนังสือภายในทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทำหนังสือฉบับนั้น ถ้าจำเป็นต้องมีแบบพิธีการมาก ก็ทำเป็นหนังสือภายนอกถ้ามีแบบพิธีน้อยก็ทำเป็นหนังสือภายใน และหากเป็นการทำหนังสือถึงบุคคลภายนอกก็ต้องทำเป็นหนังสือภายนอก                                                                          . ถาม หนังสือประทับตรา คือหนังสืออะไร กรมส่งระเบียบไปให้จังหวัดเพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยทำเป็นหนังสือประทับตราได้หรือไม่
      ตอบ หนังสือประทับตรา เป็นหนังสือตามระเบียบงานสารบรรณ ชนิดหนึ่งในจานวน ๖ชนิด เป็นหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตราหนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการและระหว่างส่วนราชการ กับบุคคลภายนอก เฉพาะกรณีไม่ใช่เรื่องสาคัญ เช่น
      ๑. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
      ๒. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร
      ๓. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน
      ๔. การแจ้งผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
      ๕. การเตือนเรื่องที่ค้าง
      ๖. เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนด โดยทำเป็นคำสั่ง ให้ใช้หนังสือตราประทับ
. ถาม ท่านมีความรู้ความเข้าใจในคำสั่งต่อไปนี้เพียงใด
     หนังสือสั่งการ หนังสือประชาสัมพันธ์ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นเป็นหนังสือที่รับไว้เป็นหลักฐานในราชการ หนังสืออื่น
      ตอบ หนังสือสั่งการ เป็นหนังสือราชการชนิดหนึ่งใน ๖ ชนิด ตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณกำหนดไว้ ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ การจัดทำหนังสือเหล่านี้ ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในท้ายระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
      หนังสือประชาสัมพันธ์ เป็นหนังสือราชการชนิดหนึ่งใน ๖ ชนิด ตามที่ระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณกำหนดไว้ ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว การจัดทำหนังสือเหล่านี้ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบและต้องใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในท้ายระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
      หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น เป็นหนังสือราชการชนิดหนึ่งใน ๖ ชนิด ตามที่ระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณกำหนดไว้ ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม และบันทึก การจัดทำหนังสือรับรอง รายงานการประชุมและบันทึกต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ และใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในท้ายระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
      หนังสือที่รับไว้เป็นหลักฐานในราชการ เป็นหนังสือราชการชนิดหนึ่งใน ๖ ชนิดตามที่ระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณกำหนดไว้ ได้แก่หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการและทางราชการรับไว้เป็นหลักฐานทางราชการ หนังสืออื่น เป็นหนังสือราชการชนิดหนึ่งใน ๖ ชนิด หนังสืออื่น คือหนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ ซึ่งรวมหมายถึง ภาพถ่าย ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพด้วย หรือหนังสือบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ได้รับไว้และลงทะเบียนทางราชการไว้แล้ว มีรูปแบบตามที่กระทรวง ทบวงกรม จะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสมเว้นแต่มีแบบตามกฎหมายเฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบ เช่นโฉนด แผนที่ แผนผัง สัญญา หลักฐานการสืบสวนและสอบสวน และคำร้องเป็นต้น
. ถาม งอธิบายคำว่า ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หน่วยงานเจ้าของหนังสือ หน่วยงานเจ้าของเรื่อง หน่วยงานที่ออกหนังสือหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
     ตอบ ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ หมายถึง ส่วนราชการที่ออกหนังสือ ซึ่งอาจเป็นระดับกระทรวง ทบวง กรมหรือต่ำกว่ากรม โดยมีส่วนสัมพันธ์กับหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งเป็นผู้ลงนามในหนังสือนั้นตัวอย่าง ส่วนราชการเจ้าของหนังสือระดับกระทรวง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ทำหนังสือฉบับหนึ่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในกระทรวงในกรณีนี้   ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ   (อยู่บรรทัดด้านขวามือระดับตีนครุฑ)   คือกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา เป็นเพียงส่วนราชการเจ้าของเรื่อง(อยู่บรรทัดล่างแนวเส้นกั้นหน้าถัดจากบรรทัดตำแหน่งในชุดคำลงท้าย)ตัวอย่าง ส่วนราชการเจ้าของหนังสือระดับกรม เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเป็นส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ผู้ลงนามคือ เลขาธิการสานักงานคณะกรรมการตัวอย่าง ส่วนราชการเจ้าของหนังสือระดับต่ำกว่ากรม เช่น วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ผู้ลงนามหนังสือ คือ หัวหน้าส่วนราชการนั้นๆ หรือผู้ลงนามแทนส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ซึ่งมีตั้งแต่ระดับกรมและระดับต่ำกว่ากรม เช่น กระทรวงศึกษาธิการ เป็นส่วนราชการเจ้าของหนังสือฉบับของกรมใด กรมนั้นก็เป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ต้องพิมพ์ชื่อกรมนั้นไว้ที่บรรทัดล่างแนวเส้นกั้นหน้า ถัดจากบรรทัดตำแหน่งหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องเป็นระดับกอง เช่น สานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเป็นส่วนราชการเจ้าของหนังสือสำนักนโยบายและแผน เป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง เป็นต้น
      หน่วยเจ้าของหนังสือ หมายถึง หนังสือที่มิใช่เป็นหนังสือของส่วนราชการ เช่นหนังสือขององค์การรัฐวิสาหกิจต่างๆ และสานักงานเลขานุการคุรุสภา ซึ่งหน่วยงานเจ้าของหนังสือจะพิมพ์อยู่บรรทัดเช่นเดียวกับส่วนราชการเจ้าของหนังสือ
      หน่วยเจ้าของเรื่อง หมายถึง หน่วยงานระดับต่ำกว่าหน่วยงานเจ้าของหนังสือ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการทำหนังสือเท่านั้น เช่นหน่วยงานเจ้าของหนังสือเป็น สานักงานเลขาธิการคุรุสภาหน่วยงานเจ้าของเรื่องผู้ทำหนังสือนั้น ได้แก่ กองกลางเป็นต้น ชื่อหน่วยงานจ้าของเรื่องต้องพิมพ์อยู่ที่แนวกั้นหน้าถัดจากบรรทัดตำแหน่งเช่นเดียวกับส่วนราชการเจ้าของเรื่อง                                                                                                   หน่วยงานที่ออกหนังสือหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ หน่วยงานที่เป็นผู้ทำหนังสือนั้นแต่มิได้เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย
      ตัวอย่างที่ ๑ สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นส่วนราชการเจ้าของหนังสือแต่ผู้ทำหนังสือนั้น คือ หน่วยตรวจสอบภายใน ซึ่งยังมิได้เป็นส่วนราชการที่ถูกต้องตามกฎหมายหน่วยตรวจสอบภายในจึงเป็นเพียงหน่วยงานที่ออกหนังสือ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบการทำหนังสือนั้นชื่อหน่วยงานที่ออกหนังสือหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องพิมพ์อยู่บรรทัดล่างแนวเส้นกั้นหน้าถัดจากบรรทัดตำแหน่ง เช่นเดียวกับส่วนราชการเจ้าของเรื่องการรู้จักใช้คำเหล่านี้ มีประโยชน์ในการทำหนังสือภายนอก ผู้ทำหนังสือภายนอกต้องมีความรู้ความเข้าใจ คำเหล่านี้และใช้ได้อย่างถูกต้อง
. ถาม เรื่องราชการที่จะดำเนินการหรือสั่งการด้วยหนังสือได้ไม่ทัน หรือการสั่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง มีทางปฏิบัติอย่างไร
      ตอบ เรื่องราชการที่จะดำเนินการหรือสั่งการด้วยหนังสือได้ไม่ทันให้ส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรเลข วิทยุโทรเลข โทรพิมพ์ โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้รับปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับหนังสือ แต่ถ้ามีกรณีที่จำเป็นต้องยืนยันยันหนังสือให้ทำหนังสือยืนยันตามไปทันที
      สาหรับการส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสาร ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง เช่นทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร วิทยุสื่อสาร หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้ส่งและผู้รับบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐาน
. ถาม หนังสือเวียนคืออะไร มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร
      ตอบ หนังสือเวียน คือ หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก มีใจความอย่างเดียวกันให้เพิ่มรหัสพยัญชนะ หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง ซึ่งกำหนดเป็นเลขหนังสือเวียนโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่
      ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนถึงสิ้นปีปฏิทิน หรือใช้เลขที่ของหนังสือทั่วไป ตามแบบหนังสือภายนอกอย่างหนึ่งอย่างใดเมื่อผู้รับได้รับหนังสือเวียนแล้ว เห็นว่าเรื่องนั้นจะต้องใช้หน่วยงานหรือบุคคลในบังคับบัญชาในระดับต่างๆ ได้รับทราบด้วย ก็ให้มีหน้าที่จัดทำสำเนาหรือจัดส่งให้หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นได้ทราบโดยเร็ว
. ถาม ท่านมีความรู้ความเข้าใจในการทำหนังสือภายนอกชุดคำขึ้นต้นที่มีคำว่า เรื่อง  เรียน อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย เพียงใด
     ตอบ ข้าพเจ้ามีความรู้ความเข้าใจในการทำหนังสือภายนอก ชุดคำขึ้นต้น ดังนี้                             . เกี่ยวกับรูปแบบ
      ๑.๑ ให้พิมพ์ชุดคำขึ้นต้นชิดแนวเส้นกั้นหน้าถัดจากบรรทัด วันที่ เดือน ปีพุทธศักราช อยู่ห่างกัน๔ เคาะวรรค (แนวเส้นกั้นหน้าอยู่ห่างจากริมกระดาษด้านซ้ายมือ ๓ ซม.)
      ๑.๒ ระหว่างบรรทัดของคำว่า เรื่อง เรียน อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย อยู่ห่างกันระยะขนาดตัวอักษรเป็น Before 6 pt
     ๑.๓ ให้พิมพ์อักษรตัวแรกที่อยู่จากคำว่า เรื่อง เรียน อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย ห่าง๒ ช่องตัวอักษร (๔ เคาะวรรค)
     ๒. เกี่ยวกับการใช้ข้อความ
     ๒.๑ เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความที่สั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
      ๒.๒ เรียน เป็นการใช้กับผู้รับหนังสือที่เป็นบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป นอกเหนือจาการใช้กับ   ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา และรัฐบุรุษ ทั้ง ๗ ตำแหน่งนี้ ต้องใช้คำว่า กราบเรียน ปัจจุบันได้เพิ่มเติมอีก ๗ ตำแหน่ง คือ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา
      นอกจากนี้ถ้าเป็นการใช้นามพระราชวงศ์ และพระภิกษุต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ ท้ายระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
      ๒.๓ อ้างถึง ถ้ามีหนังสือที่จะต้องอ้างถึง ให้พิมพ์คำนี้ไว้ด้วย ถ้าไม่มีหนังสือที่อ้างถึงก็ไม่ต้องพิมพ์คำว่า อ้างถึง ลงไว้ถ้ามีหนังสือที่อ้างถึงให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้วจากส่วนราชการใดก็ตาม โดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือและเลขที่หนังสือ วันที่ เดือน ปีพุทธศักราช ของหนังสือนั้น การอ้างถึง ถ้ามีหนังสือติดต่อในเรื่องเดียวกันหลายฉบับ ให้อ้างถึงหนังสือฉบับหลังสุดเพียงฉบับเดียว เว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสาคัญต้องนำมาพิจารณา จึงอ้างถึงหนังสือฉบับอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะให้ทราบด้วย
      ๒.๔ สิ่งที่ส่งมาด้วย ถ้ามีสิ่งที่ส่งมาด้วย ให้พิมพ์คำนี้ไว้ด้วย ถ้าไม่มีสิ่งที่ส่งมาด้วยก็ไม่ต้องพิมพ์คำว่า สิ่งที่ส่งมาด้วย ลงไว้
      ตัวอย่างที่ ๑ สิ่งที่ส่งมาด้วย วารสารจันทรเกษม จานวน ๑ เล่ม
      ตัวอย่างที่ ๒ สิ่งที่ส่งมาด้วย เงินสดจานวน ๕๐๐ บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)”
      ตัวอย่างที่ ๓ สิ่งที่ส่งมาด้วย
      ๑. รายงานการประชุมจำนวน ๑ ชุด ๕ แผ่น  . ระเบียบวาระการประชุมจำนวน ๑ ฉบับ       ถาม การลงรายการ อ้างถึง ในหนังสือภายนอก ถ้าเป็นการตอบหนังสือจาก ศาลากลางจังหวั่ด...และ ที่ว่าการอำเภอ... จะลงว่าอย่างไรจึงจะชอบด้วยระเบียบว่าาด้วยงานสารบรรณ
       ตอบ ตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ การลง อ้างอิงให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือเพียงอย่างเดียว การเรียกชื่อส่วนราชการต้องเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ สาหรับจังหวัดและอำเภอถือได้ว่าเป็นชื่อส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้ระบุไว้ว่า ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคดังนี้ () จังหวัด () อำเภอดังนั้นถ้าจะอ้างถึงหนังสือจาก ศาลากลางจังหวัด...”และ ที่ว่าการอำเภอ...” จะต้องใช้คำว่า อ้างถึงหนังสือจังหวัดนครปฐมที่  นฐ ๐๐๓๐/๘๓๖ ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๖และ อ้างถึง หนังสืออำเภอเมืองกระบี่กบ ๐๑๓๐/๑๒๒ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๖การที่ไม่ใช้ว่า อ้างถึง หนังสือศาลากลางจังหวัดนครปฐม ที่...” ฯลฯ และไม่ใช้ว่าอ้างถึง หนังสือที่ว่าการอำเภอเมือกระบี่ ที่ ...” ฯลฯ เพราะคำว่า ศาลากลางจังหวัดนครปฐมและ ที่ว่าการอำเภอเมืองกระบี่ไม่ใช่ชื่อส่วนราชการแต่เป็นชื่อสถานที่ราชการหากนำมาใช้อ้างถึงย่อมไม่ชอบด้วยระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
๑๑. ถาม ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนข้อความในหนังสือภายนอก เฉพาะข้อความตอนเหตุหรือภาคเหตุ เพียงใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างมาให้ดูด้วย
      ตอบ การเขียนข้อความตอนเหตุ หรือภาคเหตุ มีข้อควรทราบดังนี้
      ๑. ถ้าทำหนังสือภายนอกโดยเป็นผู้เริ่มต้น การขึ้นต้นข้อความภาคเหตุ มักขึ้นต้นว่าด้วย”....ฯลฯ....” หรืออาจขึ้นต้น กระทรวงศึกษาธิการ”....ฯลฯ...” (นำข้อความของเรื่องโดยย่อเฉพาะสาระสาคัญมากล่าวไว้ตามสมควร แล้วจบด้วยข้อความภาคเหตุในตัวของมันเอง) เช่นกระทรวงศึกษาธิการได้วางโครงการประชุมสัมมนาผู้บริหารงานสารบรรณทุกกรมกองในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รวม ๔ รุ่น รายละเอียดปรากฏตามโครงการและกำหนดการประชุมสัมมนาที่ได้ส่งมาพร้อมหนังสือนี้
. ถ้าทำหนังสือภายนอกโดยเป็นการตอบหนังสือจากส่วนราชการอื่น ที่มีมาถึงการใช้ข้อความภาคเหตุ นิยมใช้ข้อความดังนี้ตามหนังสือที่อ้างถึง...(นำข้อความโดยย่อเฉพาะสาระสาคัญของหนังสือที่อ้างถึงแล้วจบด้วยข้อความว่า...ความแจ้งแล้วนั้น หรือรายละเอียดแจ้งแล้วนั้นโดยเว้นวรรคตรงขึ้นประโยคว่า ความแจ้งแล้วนั้น หรือรายละเอียดแจ้งแล้วนั้น มิใช้เว้นวรรคตรงคำว่า นั้น)
      ๓. การทำหนังสือภายนอกโดยเท้าความถึงภาคเหตุ โดยไม่มีหนังสือที่อ้างถึง มักใช้คำขึ้นต้นว่า ตามที่...แล้วนำข้อความโดยย่อเฉพาะสาระสาคัญของเรื่องที่ยกมากล่าวเป็นความภาคเหตุและจบลงด้วยคำว่า นั้นให้เว้นวรรคตรงคำสุดท้ายของข้อความโดยย่อที่ยกมาเป็นข้อความภาคเหตุกับคำว่า นั้น เช่นตามที่ ที่ประชุมได้ลงมติว่า เมื่อศึกษาธิการจังหวัดประชุมคณะผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดเสร็จแล้ว จะส่งรายงานการประชุมให้แก่สานักงานศึกษาธิการเขตเขตการศึกษา ๑๒ จานวน ๑ ชุดด้วย นั้น
๑๒. ถาม ท่านมีคว่ามรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนข้อความในหนังสือภายนอก เฉพาะข้อความตอนผลหรือภาคความประสงค์และภาคสรุป เพียงใด จงอธิบาย
      ตอบ การเขียนข้อความตอนผลหรือภาคความประสงค์และภาคสรุปในหนังสือภายนอก
      ๑. การเขียนข้อความภาคประสงค์
      ๑. ถ้ามีข้อความภาคประสงค์มาก และบางครั้งอาจยกมาเป็นข้อๆ ด้วยก็ควรขึ้นย่อหน้าใหม่ เมื่อจบข้อความภาคความประสงค์แล้ว จึงเขียนย่อหน้าข้อความภาคสรุปในตอนท้ายสุด
      ๑.๒ ถ้ามีข้อความภาคเหตุและภาคความประสงค์ไม่มากนัก อาจเขียนข้อความภาคความประสงค์โดยใช้เว้นวรรคต่อจากข้อความภาคเหตุก็ได้ แล้วจบโดยขึ้นย่อหน้าข้อความภาคสรุปในตอนท้ายสุด
      ๒. การเขียนข้อความภาคสรุปการเขียนหนังสือภายนอก มักนิยมให้มีการเขียนข้อความภาคสรโดยเขียนย่อ
      หน้าขึ้นบรรทัดใหม่ไว้ในตอนท้ายด้วย ทั้งนี้แล้วแต่เนื้อหาของข้อความภาคความประสงค์ ว่าจะสมควรเขียนข้อความภาคสรุปอย่างไร จึงจะตรงตามความประสงค์ของหนังสือฉบับนั้น ตัวอย่างการเขียนข้อความภาคสรุป เช่น
     - จึงเรียนมาเพื่อทราบ
     - จึงเรียนชี้แจงเพื่อโปรดทราบ
     - จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติต่อไป
     - จึงเรียนซ้อมความเข้าใจมา
     - จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
     - จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
     - จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุญาต

     - จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความเห็นชอบ การบันทึกและการเสนอหนังสือ


ติวสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา38ค.(วรรค2)สังกัดสอศ.        
ตำแหน่งเจ้าพนักงาน ธุรการ และเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
           วันที่  16 พฤษภาคม - 17 พฤษภาคม 2558   จังหวัดอุดรธานี  เวลา 09.00 น. - 17.00น.
           วันที่  23 พฤษภาคม - 24 พฤษภาคม 2558    จังหวัดนครราชสีมา เวลา  09.00 น. - 17.00 น.
           วันที่  30 พฤษภาคม - 31 พฤษภาคม 2558    จังหวัดพิษณุโลก   เวลา  09.00 น. -  17.00 น.
           วันที่  6  มิถุนายน -     7 มิถุนายน   2558       จังหวัดมหาสารคาม เวลา   09.00 น. -  17.00 น.
           ราคา 1,500 บาท  สำรองที่นั่งล่วงหน้าที่นั่งละ 500 บาท (  ที่เหลือชำระเงินหน้างาน ) รับจำนวนจำกัด สำรองที่นั่งได้ถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 21.00 น.
       หมายเหตุ    จังหวัดไหนมีคนติวครบ  30  คน  สถาบันฯ ยินดีเดินทางไปติวให้ตามควาามประสงค์ครับ
        วิชาที่ติว         
         ภาค ก  วิชาความสามารถทั่วไป 
        -ความสามารถในการคิดคำนวณ
         สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบอนุกรม/โจทย์คณิตศาสตร์/การวิเคระห์ข้อมูล
        -ความสามารถทางด้านเหตุผล 
         สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบอุปมาอุปไมยรูปภาพ/อุปมาอุปไมยด้านภาษา
         สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบการสรุปความจากภาษา
         สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบการสรุปความจากสัญลักษณ์
         สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบเหตุผลทางตรรกศาสตร์
         วิชาภาษาไทย 
        -ความเข้าใจภาษา
         สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบบทความ ( ตีความสรุปความจับใจความ )
         -การใช้ภาษา
          สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบการเลือกใช้คำที่ถูกต้อง เติมคำในช่องว่าง
          สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบการเขียนประโยคให้ถูกต้อง/การสะกดคำให้ถูกต้อง
          สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบการเรียงลำดับข้อความให้ถูกต้อง
        ภาค ข  ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
         - สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2546
         และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2553และกฏกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
        - สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
        2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2551 และ (ฉบับที่ 3) 2553 และกฏกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
        - สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง  
        - สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
        - สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ
        - สรปเนื้อหา+ทำข้อสอบพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 และกฏกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
        - สรุปเนื้อหา+ทำข้อสอบนโยบายรัฐบาล และนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
         ฟรี! 1. เอกสาร+CD  2อาหารกลางวัน 3. อาหารว่าง  
        วิทยากร สถาบันกวดวิชาและภาษาไดเอ็ด
          ดร.ภักดี รัตนมุขย์    อดีตรองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม
          ดร. ศตวรรษ สุขมากินโรจน์ และ ดร.มณฑิรา พิทักษ์วงศ์ศร
          สำรองที่นั่งโดยชำระผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์  ประเภทออมทรัพย์  สาขามหาสารคาม
          เลขที่บัญชี 608-269894-8  ชื่อบัญชีนางสาวทักษพร  รัตนมุขย์
        แจ้งชื่อ-สกุล ที่อยู่ และเบอร์โทร  พร้อมรายละเอียดการโอนเงินไปที่
            1. Facebook:facebook.com/dr.pukdee
            2. E-mail:Dr.Pukdee-@hotmail.com
            3. โทร. 099-7207022, 043-721822, 084-2616667

จำหน่าย ไฟล์เอกสาร แนวข้อสอบ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการและตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี สอศ.ที่กำลังจะเปิดสอบสำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติว ภาค ก และภาค ข ฉบับสมบูรณ์ ราคา  399  บาท
รายละเอียด สรุป+แนวข้อสอบคลอบคลุมหลักสูตรการแข่งขันสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38(2)  

             E -BOOK เนื้อหา+แนวข้อสอบ จะเป็น zipไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการเปิดไฟล์ เพราะมีเนื้อหาจำนวนมาก  สามารถนำไปปริ้นอ่านได้เลย ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก