วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

แบ่งปันเอกสารสรุปย่อสาระสำคัญ พรบการอาชีวศึกษา 2551เตรียมสอบครู สอศ.

สรุป พรบ.อาชีวศึกษา
สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษาพ.ศ. ๒๕๕๑
                       
                พรบ. ฉบับนี้ ประกอบไปด้วย 6 หมวด 1 บทเฉพาะกาล 63 มาตรา 
 หมวด ๑
บททั่วไป

 - การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพต้องเป็นการจัดการศึกษาในด้านวิชาชีพ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี  
- รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ดังต่อไปนี้
(๑) การศึกษาในระบบ ที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน
(๒) การศึกษานอกระบบ เนื้อหาและหลักสูตร ยืดหยุ่นตามความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(๓) การศึกษาระบบทวิภาคี ผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ
- หลักสูตรการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(๒) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(๓) ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
- การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพต้องคำนึงถึง
(๑) มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่สถานศึกษาอาชีวศึกษาและสถาบัน
(๒) การศึกษาในด้านวิชาชีพต่อเนื่องจนถึงระดับปริญญาตรี
(๓) การมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม และสถานประกอบการ
(๔) มีความยืดหยุ่น หลากหลาย และมีระบบเทียบโอนผลการเรียนและระบบเทียบประสบการณ์การทำงานของบุคคล
(๕) ให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษา
(๖) การระดมทรัพยากรทั้งจากภาครัฐและเอกชน
(๗) พัฒนาครูและคณาจารย์ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  
หมวด ๒
สถานศึกษาอาชีวศึกษา
                       
 หากสถานศึกษาอาชีวศึกษาแห่งใดมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์เฉพาะด้านในสาขาวิชาชีพให้คณะกรรมการการอาชีวศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาอาชีวศึกษานั้นเพื่อให้สามารถจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง และได้รับการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

หมวด ๓
สถาบันการอาชีวศึกษา
                       

ส่วนที่ ๑
การจัดตั้ง
                       
 สถานศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมกันเป็นสถาบันได้ (โดยให้ออกเป็นกฎกระทรวง) มีสภาพเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ส่วนที่ ๒
การดำเนินการ
                       
 - การแบ่งส่วนราชการของสถาบัน
(๑) สำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน อาจแบ่งเป็นฝ่ายหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าฝ่าย
(๒) วิทยาลัย        อาจแบ่งเป็นคณะวิชา ภาควิชา แผนก หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชาหรือภาควิชา
(๓) สำนัก             อาจแบ่งเป็นแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น 
(๔) ศูนย์               ที่มีฐานะเทียบเท่าแผนก
- สถาบันมีอำนาจให้ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือปริญญาตรีแก่ผู้ที่ศึกษาจากสถานศึกษาหรือสถานประกอบการ และสำเร็จการศึกษาตามหลักเกณฑ์ของสถาบันได้

ส่วนที่ ๓
สภาสถาบันและผู้บริหารสถาบัน
                       

คณะกรรมการสภาสถาบันในสถาบันแต่ละแห่ง จำนวนไม่เกินสิบสี่คนประกอบด้วย
(๑) นายกสภาสถาบัน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
(๒) กรรมการสภาสถาบัน ๑๓ คน
ได้แก่ ผู้อำนวยการสถาบัน
เลือกจากบุคคลที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเสนอ                  ๔ คน
เลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถาบัน                                                    ๒ คน
เลือกจากครูหรือคณาจารย์ประจำที่มิได้เป็นผู้บริหาร                                  ๒ คน
เลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิ                                                                                  ๔ คน
แต่งตั้งรองผู้อำนวยการสถาบันคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการสภาสถาบัน
- นายกและกรรมการสภาสถาบัน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และจะแต่งตั้งหรืออาจได้รับเลือกใหม่อีกได้
- นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ นายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบัน     พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติ
(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๕) สภาสถาบันมีมติให้ออก ต้องเป็นไปตามมติสองในสามของจำนวนกรรมการ สภาสถาบันเท่าที่มีอยู่
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
- ให้มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งนายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบันภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง
- ผู้อำนวยการสถาบันเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบัน และให้มีรองผู้อำนวยการสถาบันอย่างน้อยหนึ่งคน กับทั้งอาจมีผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันหนึ่งคนหรือหลายคนก็ได้
- ผู้อำนวยการสถาบันมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
- นอกจากการพ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สภาสถาบันมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจำนวนกรรมการสภาสถาบันเท่าที่มีอยู่ เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
(๔) ถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
เมื่อผู้อำนวยการสถาบันพ้นจากตำแหน่ง ให้รองผู้อำนวยการสถาบันหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพ้นจากตำแหน่งด้วย และให้มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้อำนวยการสถาบันพ้นจากตำแหน่ง
- ผู้อำนวยการสถาบันและรองผู้อำนวยการสถาบันต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
            ตำแหน่ง
         วุฒิการศึกษา
                         ประสบการณ์
ผู้อำนวยการสถาบัน
รองผู้อำนวยการสถาบัน
ไม่ต่ำกว่าชั้นปริญญาเอกหรืออเทียบเท่า
สอนหรือมีประสบการณ์ด้านบริหารในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สถาบันหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น หรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาแล้วรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
ปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่า
สอนหรือมีประสบการณ์ด้านบริหารในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สถาบันหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น หรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาแล้วรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
     ผู้ช่วยผู้อำนวยการ         สถาบัน
    ปริญญาหรือเทียบเท่า
-
 - ตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันและตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันเป็นตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งอธิการบดีและตำแหน่งรองอธิการบดีในหน่วยงานการศึกษาที่สอนระดับปริญญา 

ส่วนที่ ๔
ตำแหน่งทางวิชาการ
                       
 - คณาจารย์ประจำซึ่งสอนชั้นปริญญาในสถาบันมีตำแหน่งทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
    (๑) ศาสตราจารย์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของสภาสถาบัน
   (๒) รองศาสตราจารย์
   (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
   (๔) อาจารย์

ส่วนที่ ๕
ปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ
                       
 - สถาบันมีอำนาจให้ปริญญาตรีในสาขาวิชาที่มีการสอนในสถาบันได้                                             
- ออกข้อบังคับกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งหรือปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองได้
- กำหนดให้มีประกาศนียบัตรออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะวิชาได้
- มีอำนาจให้ปริญญากิตติมศักดิ์ แต่จะให้ปริญญาดังกล่าวแก่คณาจารย์ประจำ ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในสถาบันนายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบันในขณะดำรงตำแหน่งนั้นมิได้
- กำหนดให้มีครุยวิทยฐานะหรือเข็มวิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและประกาศนียบัตรวิชาชีพได้และอาจกำหนดให้มีครุยประจำตำแหน่งกรรมการสภาสถาบัน ครุยประจำตำแหน่งผู้บริหาร หรือครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์ของสถาบันได้
- กำหนดให้มีตรา สัญลักษณ์ เครื่องหมายของสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายของนักศึกษาได้

 หมวด ๔
ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
                       
 - สถานศึกษาอาชีวศึกษาของเอกชนอาจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของสถาบันเพื่อประโยชน์ในการร่วมมือทางวิชาการ การสร้างคุณภาพการอาชีวศึกษาเอกชน
- จัดระบบการจัดการให้เอื้ออำนวยแก่ผู้มีประสบการณ์ ผู้ผ่านการฝึกอบรมจากสถานประกอบการที่ได้รับการรับรอง ผู้เรียนที่สะสมผลการเรียนไว้ และผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้สามารถเทียบโอนผลการเรียนหรือประสบการณ์ด้านวิชาชีพเพื่อให้ได้คุณวุฒิการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ได้
- จัดการศึกษาระบบทวิภาคีที่เป็นความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และสถานประกอบการ
- สถานประกอบการที่ประสงค์จะดำเนินการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- ครูฝึกในสถานประกอบการ ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาและผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรมวิชาการศึกษาด้านอาชีพ
(๒) เป็นผู้ชำนาญการด้านอาชีพโดยสำเร็จการศึกษาวิชาชีพไม่ต่ำกว่าระดับบประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หรือมาตรฐานอื่นตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
(๓) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพเฉพาะสาขาซึ่งสำเร็จการศึกษาวิชาชีพไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในสาขาอาชีพนั้นไม่น้อยกว่าห้าปี หรือสำเร็จการศึกษาวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่มีประสบการณ์ในสาขาอาชีพนั้นไม่น้อยกว่าสามปี หรือผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาอาชีพนั้นไม่น้อยกว่าห้าปี
(๔) เป็นผู้มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในอาชีพเฉพาะสาขา มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสังคมและท้องถิ่น และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้

 หมวด ๕
การเงินและทรัพยากร
                       
- ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า “กองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ” ประกอบด้วย
(๑) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่สถานประกอบการหรือเอกชนมอบให้แก่กองทุน หรือที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้แก่กองทุน
(๒) เงินที่ได้รับจากต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
(๓) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน
(๔) รายได้หรือผลประโยชน์อื่นของกองทุน
- เงินกองทุนให้ใช้จ่ายได้ ดังต่อไปนี้
(๑) การดำเนินงานและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพเครื่องมือ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ หลักสูตร กิจกรรม มาตรฐานสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษา และการพัฒนาบุคลากร รวมถึงนักเรียนและนักศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา สถาบัน สถานประกอบการ และครูฝึกในสถานประกอบการ ตลอดจนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานดังกล่าว
(๒) การให้กู้ยืมแก่ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อใช้จ่ายในการประกอบอาชีพโดยอิสระ
(๓) เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

 หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
                       
 อัตราค่าปรับ
ความผิด
จำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ใช้ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจำตำแหน่ง เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายของนักศึกษาหรือสิ่งใดที่เลียนแบบสิ่งดังกล่าว โดยไม่มีสิทธิที่จะใช้หรือแสดง
จำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) ปลอม หรือทำเลียนแบบซึ่งตรา สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายของสถาบัน
(๒) ใช้ตรา สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายของสถาบันปลอมหรือทำเลียนแบบ หรือ
(๓) ใช้ หรือทำให้ปรากฏซึ่งตรา สัญลักษณ์ เครื่องหมายของสถาบันที่วัตถุหรือสินค้าใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต
ถ้าผู้กระทำความผิดตาม (๑) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (๒) ด้วย ให้ลงโทษเฉพาะความผิดตาม (๒) แต่กระทงเดียว
ความผิดตาม (๓) เป็นความผิดอันยอมความได้


บทเฉพาะกาล
                       
- ให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาที่ตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบัน ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่รักษาการดังกล่าว

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี



จำหน่ายไฟล์เอกสารแนวข้อสอบ ครูผู้ช่วย สอศ. สพฐ.ภาค ก และภาค ข ฉบับสมบูรณ์ ราคา  399  บาท
      รายละเอียด
       สรุป+แนวข้อสอบคลอบคลุมหลักสูตรการแข่งขันสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  
         ภาคก  ความรอบรู้และความรู้ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวความประพฤติและการปฎิบัติของวิชาชีพครู
        1.ความรอบรู้
1.1     สังคม  เศรษฐกิจ การเมือง และเหตุการณ์ปัจจุบัน
1.2     นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
1.3     วัฒนธรรมไทยและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
1.4     กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติราชการ
1.4.1พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.4.2พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ..2546และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.4.3พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.4.4พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.. 2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.4.5พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.2546
1.4.6พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.2551
1.4.7กฎหมายอาชีวศึกษา กฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับ ของสอศที่เกี่ยวข้องเช่น
                                   -พ...การอาชีวศึกษา พ.2551
                                   -กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ..2551, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับ ปวชและปวส  
                                      พ.. 2556
                                   -กรอบมาตรฐานหลักสูตร หลักสูครและการพัฒนาหลักสูตร ระดับ ปวช..2556 และปวส.2557
                                   - ระเบียบการประเมินผล ปวช2545 ..2547 และปวส 2546 ..2547
                                   -มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.. 2555
                                   -กฎกระทรวง และระเบียบ การแบ่งส่วนราชการ การบริหารของสอศ. ,สถาบัน และสถานศึกษา
           2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฎิบัติของวิชาชีพครู  
          2.1   วินัยและการรักษา
                  2.2    คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
                  2.3    มาตรฐานวิชาชีพ
                        2.4   จรรยาบรรณวิชาชีพ
                    2.5    สมรรถนะวิชาชีพ
   ภาค ข  ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  
      3. ความรู้ความสามารถกเกี่ยวกับวิชาการศึกษา ความรู้ในวิชาชีพครู
                 3.1หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร
                 3.2หลักการสอนและการจัดการเรียนรู้
                 3.3จิตวิทยาและการแนะแนว                                                                                                                                                                     
         3.4การพัฒนาผู้เรียน
              3.5การบริหารจัดการชั้นเรียน
                      3.6การวิจัยการศึกษา
                    3.7สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
                     3.8การวัดและประเมินผลการศึกษา 
            
                                                     
                                                    เรียบเรียง โดย  ดร. ภักดี   รัตนมุขย์
เอกสาร เนื้อหา+แนวข้อสอบ จะเป็น zipไฟล์อิเล็กทรอนิกส์   ที่ใช้ในการเปิดไฟล์ เพราะมีเนื้อหาจำนวนมาก  สามารถนำไปปริ้นอ่านได้เลย ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์
สั่งซื้อ   สรุปเนื้อหา+แนวข้อสอบ แจ้งที่ อีเมล์  Dr.Pukdee-@hotmail.com , facebook.com/dr.pukdee
ชำระเงินผ่านบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเภทออมทรัพย์ สาขามหาสารคาม                        
เลขที่บัญชี  608-269894-8  ชื่อบัญชี นางสาวทักษพร  รัตนมุขย์ ชำระเงินแล้วโทร. แจ้ง 084-2616667,043-721822 หรือแจ้งทางอีเมล์อีกครั้งว่าโอนเงินแล้ว ระบุวันที่ เวลา ยอดเงินที่โอน

 กำหนดการและรายละเอียด การติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย สอศ.
ค่าใช้จ่ายในการติว 1,500 บาท สำรองที่นั่งละ 500 บาท (ส่วนที่เหลือจ่ายหน้างาน) สถานที่ติวจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 3 วัน ( รายละเอียดวิชาที่ติวอยู่ด้านบน )
วันที่ 28-29 มีนาคม 2558 ภาคเหนือ(พิษณุโลก) วันที่ 4-5เมษายน 2558 ภาคกลาง(จังหวัดสมุทรสาคร) วันที่ 18-19 เมษายน 2558 ภาคใต้(จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) วันที่ 25-26 เมษายน 2558 ภาคอีสาน(จังหวัดมหาสารคาม) กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม  หมายเหตุ  จังหวัดใดมีคนต้องการติวครบ 30  คน สถาบันฯจะเดินทางไปติวให้เลยครับ    

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก